ภาษาไทยรายงาน

APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition

APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition

การเขียนอ้างอิงแบบ APA 7th เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิงในผลงานวิชาการต่างๆ ที่พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์ สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychological Association) หรือ APA จัดทำเป็นคู่มือการเขียนรายการอ้างอิงเพื่อเป็นมาตรฐาน ในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับภาคนิพนธ์การทำวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา เริ่มพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1929 และฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 จัดพิมพ์ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.2019 รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APA 7th ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยเพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยได้เพิ่มแนวทางในการลงรายการอ้างอิงสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิงจากเว็บไซต์ โดยในบางส่วนได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำมาใช้ในการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย ซึ่งอาจมีลักษณะและข้อมูลบางอย่างแตกต่างจากเอกสารในภาษาอังกฤษ

APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition
APA 7th การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition

รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA 7th edition ที่มา : https://lib.stin.ac.th/

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา

การเขียนอ้างอิงแบบ APA 7th เป็นวิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (author-date citation system) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ไว้ข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง

รายการอ้างอิงภาษาไทย  >> ให้เขียน ชื่อ นามสกุล ของผู้แต่ง เว้น 1 ตัวอักษร เครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วยปีพิมพ์ กรณีที่ไม่มีปีพิมพ์ให้ใช้คำว่า “ม.ป.ป.” หมายถึง ไม่ปรากฏปีพิมพ์ (กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์)

  • ผู้แต่ง (ปีพิมพ์)  กรณีระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหา
    • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ (2563) ระบุความหมายของเคมีวิเคราะห์ไว้ว่า…..
  • (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์)  หรือ (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์: เลขหน้า)  กรณีอ้างอิงท้ายข้อความ……
    • ศาสตร์แห่งเคมีวิเคราะห์ไม่เพียงแต่อาศัยหลักการทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ผู้ทดลองต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะเราไม่อาจทราบค่าแท้จริง ความคลาดเคลื่อนต้องเกิดขึ้นน้อยที่สุดเพื่อให้มีความแม่นมากที่สุด (วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, 2563)

รายการอ้างอิงภาษาอังกฤษ  >> ให้เขียนนามสกุลของผู้แต่งทับศัพท์เป็นภาษาไทยก่อน เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วย นามสกุลภาษาอังกฤษ เครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษร และปีพิมพ์ในวงเล็บ กรณีที่ไม่มีปีพิมพ์ใช้คำว่า “n.d.” หมายถึง no date

  • วอคเกอร์ (Walker, 2007) อธิบายว่า ………..

การอ้างอิงชื่อผู้แต่งก่อนข้อความ

การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  1 คน

  • ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุล/(ปีพิมพ์)
    • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ (2563) ระบุความหมายของเคมีวิเคราะห์ไว้ว่า…..
  • ภาษาอังกฤษ >>สกุล/(ปี)
    • Miyake (2008) ได้นิยามความหมายของแรงดึงดูด…..

การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  2 คน

  • ภาษาไทย >>ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และ/ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2/(ปีพิมพ์)
    •  สมชาติ อนันตสุทธิ์ และ อภิญญา โสภาพัฒน์ (2556) สรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง…….
  • ภาษาอังกฤษ >> สกุล 1/&/สกุล 2/(ปี)
    • Wage & Nah (2018) reported the global change……

การอ้างอิงที่มีผู้แต่งตั้งแต่  3 คนขึ้นไป

  • ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และคณะ/(ปีพิมพ์)
    • นันทพร ปรีชาสกุล และคณะ (2560) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์ทดลอง…….
  • ภาษาอังกฤษ >> สกุล 1/et/al./(ปี)
    • Crooks et al. (2012) created the model for predicting ……..

หมายเหตุ. เครื่องหมาย / คือเว้นวรรค 1 ระยะ

การอ้างอิงชื่อผู้แต่งหลังข้อความ

การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  1 คน

  • ภาษาไทย >> (ชื่อ/สกุล,/ปีพิมพ์:/เลขหน้า)
    • เคมีวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์สารที่สนใจ (analyte) ในตัวอย่าง เพื่อต้องการคำตอบที่ถูกต้องอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งทางกายภาพ และ/หรือทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นคำตอบเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ โดยดำเนินการตามขั้นตอนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ลดความคลาดเคลื่อน และสามารถแสดงความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ที่สัมพันธ์ระหว่างสารที่สนใจและสารตัวอย่าง (วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, 2565: 2)
  • ภาษาอังกฤษ >> (สกุล,/ปี:/เลขหน้า)
    • The protential profit of development protocol was also prooved during…….(Owen, 2002: 123)

การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  2 คน

  • ภาษาไทย >> (ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และ/ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2,/ปีพิมพ์)
  • ภาษาอังกฤษ >> (สกุล 1/&/สกุล 2,/ปี)

การอ้างอิงที่มีผู้แต่งตั้งแต่  3 คนขึ้นไป

  • ภาษาไทย >> (ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และคณะ,/ปี)
  • ภาษาอังกฤษ >> (สกุล 1/et/al.,/ปี)

หมายเหตุ. เครื่องหมาย / คือเว้น 1 ระยะ 

หมายเหตุ.  การอ้างอิงมากกว่าสองแหล่งข้อมูลให้เขียนเรียงตามลำดับอักษร เช่น …สอดคล้องกับผลการศึกษาของมานะ นาคทอง (2559) และสีลา ดีบัวสาย (2558)……หรือถึงแก่ชีวิต (เพิ่มตระกูล พูนศรี, 2551; วรรณา มีคุณศรี, 2548)…การวัดที่มีตัวแปรแฝงหลายตัว (Embretson & Reise, 2000; Marvelde et al., 2006)

การอ้างอิงรูปภาพ

การระบุที่มาของภาพและตาราง
การระบุแหล่งที่มาของรูปภาพและตารางจะต่างจากสารสนเทศประเภทอื่น ๆ ที่จะต้องมีการเพิ่มเติมการระบุสิทธิ์การใช้งานและลิขสิทธิ์ หรือในสาธารณสมบัติหรือตัวย่อใบอนุญาต Creative Commons  (ตารางข้างล่าง) ทำซ้ำโดยได้รับอนุญาต (Reprinted with permission) หรือ ดัดแปลงโดยได้รับอนุญาต (Adapted with permission) หากมีการขออนุญาตและได้รับอนุญาต

  1. ลักษณะการนำมาใช้ โดยระบุว่า “จาก” สำหรับการพิมพ์ซ้ำ หรือ”ดัดแปลงจาก” สำหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใด ๆ
  2. ข้อมูลของแหล่งที่มาตามประเภทของสารสนเทศ
  3. สถานะลิขสิทธิ์ของผลงานที่นำมา โดยระบุว่า “สงวนลิขสิทธิ์/ปี/โดย/ชื่อเจ้าของผลงาน.” หรือ “CC BY-NC-ND”สำหรับการสงวนลิขสิทธิ์บางประการ (Creative Commons) หรือ “สาธารณสมบัติ” สำหรับงานสร้างสรรค์ที่หมดความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว
  4. ข้อความการอนุญาต ให้ระบุเฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  5. การระบุที่มานี้ ใช้แทนการอ้างอิงภายในเนื้อหา จึงไม่จำเป็นต้องระบุซ้ำ
การอ้างอิงในเนื้อหาสารสนเทศ
ตารางที่ 1.1
การอ้างอิงภายในเนื้อหาสารสนเทศ

หมายเหตุ. จาก การอ้างอิงสารสนเทศตาม “Publication Manual of the American Psychological Association” (7th Edition) โดย ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์, 2564. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/153329/111738).

1. การอ้างอิงรูปภาพจากวารสารหรือนิตยสาร
รูปแบบการอ้างอิงภาพในเนื้อหา ให้เขียนด้านบน ชิดซ้าย ดังนี้

ภาพที่ x.x
ชื่อภาพ (ตัวเอน)

หมายเหตุ./คำอธิบายภาพกราฟิกที่ใช้แสดง (ถ้ามี). /จาก/”ชื่อบทความ,” /โดย/ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/ชื่อวารสาร,/ปีที่ (ฉบับที่),/ส่วนอ้างอิง,/ภาพที่/x/(DOI หรือ URL)./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต

Note./คำอธิบายภาพกราฟิกที่ใช้แสดง (ถ้ามี). /From/”Title,” /by/A. Author,/Year,/Journal,/Vol(no.),/Secion,/Figure/x/(DOI หรือ URL)./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต


ตัวอย่าง

Note. (A) Expression Recognition & (B) Expression Detection (A = Anger; D = Disgust; F = Fear; H = Happy; Su. = Surprise; Sa. = Sad). (C) Full confusion matrices underlying performance at each eccentricity for the Emotion Recognition Task (rows = expression presented; columns = response chosen). From “Identifying and Detecting Facial Expressions of Emotion in Peripheral Vision,” by F. W. Smith and S. Rossit, 2018, PloS ONE13(5), Results section, Figure 1 (https://doi.org/10.1371/journal.pone.0197160). CC BY.

ภาพที่ 1.0
ค่าการดูดกลืนและสีของสารละลายอนุภาคนาโนเมตรของทองคำกับไอออนปรอทและไอออนอื่น ๆ

หมายเหตุ. (ภาพใหญ่) ค่าการดูดกลืนแสงที่ 517 นาโนเมตร และ (ภาพเล็ก) สีของสารละลายอนุภาคนาโนเมตรของทองคำ. จาก “Visual and colorimetric detection of mercury(II) ion using gold nanoparticles stabilized with a dithia-diaza ligand,” โดย W. Chansuvarn, and A. Imyim, 2012, Microchimica Acta176(1-2), p.61 (https://doi.org/10.1007/s00604-011-0691-3). CC BY.

การเขียนรายการอ้างอิง

  • Chansuvarn, W. & Imyim, A. (2012).  Visual and colorimetric detection of mercury(II) ion using gold nanoparticles stabilized with a dithia-diaza ligand, Microchimica Acta176(1-2), 57-64.

2. การอ้างอิงจากหนังสือ
รูปแบบการอ้างอิงภาพในเนื้อหา ให้เขียนด้านบน ชิดซ้าย ดังนี้

ภาพที่ x.x.
ชื่อภาพ (ตัวเอน)

หมายเหตุ./จาก หรือ ปรับปรุงจาก/ชื่อหนังสือ/(น./เลขหน้า),/โดย/ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/สำนักพิมพ์./(URL)./ลิขสิทธิ์./ข้อความการอนุญาต

Note./From หรือ Adapted from/Book Titile/(p./xxx),/by/A. Author,/Year,/  Publisher./(URL)./ลิขสิทธิ์./ข้อความการอนุญาต

ตัวอย่าง

ภาพที่ 2.2
ระดับเอกสารคุณภาพ

หมายเหตุ. จาก การจัดทำระบบคุณภาพ ISO 17025 & GLP สำหรับห้องปฏิบัติการเคมี (น.138), โดย อภิชาติ อิ่มยิ้ม, 2559, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การเขียนรายการอ้างอิง

  • อภิชาติ อิ่มยิ้ม. (2559). การจัดทำระบบคุณภาพ ISO 17025 & GLP สำหรับห้องปฏิบัติการเคมี, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การอ้างอิงตาราง

รูปแบบการอ้างอิงตารางในเนื้อหา ให้เขียนด้านบน ชิดซ้าย ดังนี้

ตารางที่ x.x
ชื่อตาราง (ตัวเอน)

หมายเหตุ./….ดูการเขียนหมายเหตุ

Note./….ดูการเขียน Note

1. การเขียนหมายเหตุ (Note) ท้ายตารางที่ได้จากวารสารหรือนิตยสาร

หมายเหตุ./คำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลในตาราง (ถ้ามี)./จาก หรือ ปรับปรุงจาก /“ชื่อบทความ,” /โดย ชื่อผู้แต่ง, /ปีพิมพ์, /ชื่อวารสาร ,/ปีที่ (ฉบับที่),/น.เลขหน้า./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต

Note./คำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลในตาราง (ถ้ามี)./From หรือ Adapted from /“Article Title,” /by A. Author, /ปีพิมพ์, /Journal,/Vol(no),/p. หรือ pp./เลขหน้า./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต

Table 1.1
Compound detected in the extracts of natural samples

Note. From “Identification and quantification of phenolic compounds and bioactive properties of Sorghum-cowpea-based food subjected to an in vitro digestion model,” by O. E. Adelakun and G. Duodu, 2017, European Journal of Nutrition & Food Safety7, pp.63, Copyright 2017 by Adelakun and Duodu, Reprimted with permission.

การเขียนรายการอ้างอิง

  • Adelakun, O. E. & Duodu, G. (2017). Identification and quantification of phenolic compounds and bioactive properties of Sorghum-cowpea-based food subjected to an in vitro digestion model. European Journal of Nutrition & Food Safety7(1), 7-66.

2. การเขียนหมายเหตุ (Note) ท้ายตารางที่ได้จากหนังสือ

หมายเหตุ. จาก/ชื่อหนังสือ/(น./เลขหน้า),/โดย/ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/สำนักพิมพ์/(URL)./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต

Note. From/Book Title/(p./ Page Number),/by/ A. Author,/Year,/Publisher/(URL)./ Copyright/Permission.

ตารางที่ 1.1
วิธีมาตรฐานสำหรับการเตรียมตัวอย่างด้วยคลื่นไมโครเวฟ

หมายเหตุ. จาก เคมีวิเคราะห์ : หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ (น. 81), โดย วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, 2565, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สงวนลิขสิทธิ์ 2565 โดยสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ พิมพ์ซ้ำโดยได้รับอนุญาต

ตารางที่ 1.2
สมบัติของธาตุคาร์บอนและซิลิกอน

Note. From General Chemistry : Principle and Modern Applications (11th ed.) (p. 1011), by R. H. Petrucci, et al., 2016, Pearson Canada Inc., Copyright ©2017  Pearson Canada Inc.

การเขียนรายการอ้างอิง

  • Petrucci, R. H., Herring F. G., Madura, J. D., & Bissonette, C. (2016). General Chemistry : Principle and Modern Applications (11th) ed.). Pearson Canada Inc.

การอ้างอิงจากเว็บไซต์

ภาษาไทย > ชื่อ/สกุล, วัน/เดือน/ปีที่เผยแพร่ 

  • ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คือแนวคิดแนวปฏิบัติที่ให้พลเมืองได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย (สมมติ นามวงศ์, 18 พ.ย. 2564)

ภาษาอังกฤษ > สกุล, ปีที่เผยแพร่,/เดือน/วัน 

  • Blockchain technology is a structure that stores transactional records, also known as the block, of the public in several databases, known as the “chain,” in a network connected through peer-to-peer nodes. Typically, this storage is referred to as a ‘digital ledger.’ (Simplilearn, 2022, Febuary 21)

หมายเหตุ

  • กรณีที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ใช้คำว่า (ม.ป.ป.) ในเครื่องหมายวงเล็บ คือ ไม่ปรากฏปีพิมพ์ หรือ (n.d.) คือ no date สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ต่อจากชื่อผู้แต่ง
  • กรณีไม่ระบุ วัน/เดือน ให้ใช้ปีพิมพ์ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาพ (.) ต่อจากชื่อผู้แต่ง
  • กรณีที่สิ่งพิมพ์ ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์แล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์ใหร้ะบุคำว่า (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์) สำหรับเอกสารภาษาไทย  และ (in press) สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ไว้ในวงเล็บแทนปีพิมพ์  

หลักเกณฑ์การลงรายการผู้แต่ง

ผู้แต่งคนไทย

ให้ใส่ ชื่อ/สกุล โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายใด ๆ คั่น ไม่ว่างานเขียนจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ กรณีผู้แต่งใส่ทั้งชื่อสกุลของตัวเองและสามี ให้ลงรายการตามที่ปรากฏ โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายใด ๆ คั่น

  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
  • กานต์ กาญจนา วัฒนะมงคล
  • Thongdee Thanawathana

ผู้แต่งชาวต่างประเทศ

ให้ใส่ชื่อสกุล (surename หรือ family name) เท่านั้น ไม่ว่างานเขียนจะเป็นภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทย

  • Maha Johnson ลงอ้างอิงเป็น Johnson
  • มาฮา จอห์นสัน ลงอ้างอิงเป็น จอห์นสัน

ผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์

ให้ใส่ชื่อ คั่นด้วยครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยฐานันดรศักดิ์

  • เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ
  • สุขุมพันธ์ บริพัตร, ม.ร.ว.
  • พรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณหญิง
  • Bhumibol Adulyadej, His Majesty King

ผู้แต่งที่เป็นพระภิกษุทั่วไปและพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์
พระภิกษุทั่วไป > ให้ใส่คำว่า พระ พระมหา นำหน้าชื่อตามด้วยฉายานาม (ชื่อภาษาบาลี) ถ้าไม่ทราบฉายานาม แต่ทราบชื่อสกุลให้ใส่ชื่อสกุล กรณีไม่ทราบทั้งฉายานามและชื่อสกุล ให้ใส่ข้อมูลตามที่ปรากฏในงาน และหากพระภิกษุใช้นามแฝงให้ใส่นามแฝงตามที่ปรากฏ

  • พระมหาวันชัย
  • พุทธทาสภิกขุ
  • Buddhadasa Bhikkhu

พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ ให้ใส่ชื่อสมณศักดิ์ ตามด้วยชื่อตัวในเครื่องหมายวงเล็บ ถ้าไม่ทราบชื่อตัวให้ใส่เฉพาะชื่อสมณศักดิ์

  • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์)
  • สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ)

ผู้แต่งที่มียศทางทหาร ตำรวจ มีตำแหน่งวิชาการ หรือมีคำเรียกทางวิชาชีพ
เช่น พลเอก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ เป็นต้น ไม่ต้องใส่ยศ ตำแหน่งทางวิชาการ และคำเรียกทางวิชาชีพ

  • พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลง  เปรม ติณสูลานนท์
  • ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ลง ประสิทธิ์ วัฒนาภา

ผู้แต่งใช้นามแฝง

ให้ใส่นามแฝงตามที่ปรากฏในงาน

  • ทมยันตี
  • ว. วินิจฉัยกุล
  • พนมเทียน

แหล่งอ้างอิงหลัก


1. การอ้างอิงสารสนเทศตามแบบ APA (7th edition)

2. APA Manual 7th edition: The most notable changes

3. APA Style Introduction

4. APA 7th Referencing: Getting Started in APA 7th

Related Articles

6 Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
error: Content is protected !!