ภาษาไทยรายงาน

APA7th การเขียนบรรณานุกรม อ้างอิงเอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด 2021

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

APA7th การเขียนบรรณานุกรม อ้างอิงเอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด 2021ที่อัพเดตการเขียนอ้างอิงแบบปัจจุบัน

การเขียนอ้างอิงแบบ APA 7th เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิงในผลงานวิชาการต่างๆ ที่พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์ สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychological Association) หรือ APA จัดทำเป็นคู่มือการเขียนรายการอ้างอิงเพื่อเป็นมาตรฐาน ในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับภาคนิพนธ์การทำวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา เริ่มพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1929 และฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 จัดพิมพ์ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.2019 รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APA 7th ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยเพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยได้เพิ่มแนวทางในการลงรายการอ้างอิงสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิงจากเว็บไซต์ โดยในบางส่วนได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำมาใช้ในการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย ซึ่งอาจมีลักษณะและข้อมูลบางอย่างแตกต่างจากเอกสารในภาษาอังกฤษ

APA7th การเขียนบรรณานุกรม อ้างอิงเอกสารและสารสนเทศ แบบล่าสุด 2021
APA7th การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนรายการอ้างอิง (Reference)

ในองค์ประกอบการเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรมนั้ควรรู้จักการเขียนรายการอ้างอิงให้ละเอียดเสียก่อน การเขียนรายการอ้างอิงมีองค์ประกอบดังนี้

รูปแบบการลงรายการชื่อผู้แต่ง 1 คน และ 2 คน

ชื่อผู้แต่งคนไทย

ผู้แต่ง 1 คน ให้ลง ชื่อ/สกุล ผู้แต่ง 
  • สุพัตรา จันทร์สุวรรณ
ผู้แต่ง 2 คน ให้ลง ชื่อ/สกุล ผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วย  “และ” ไม่เว้นวรรค หน้าชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2
  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ และสิริรัตน์ พานิช

ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ

ผู้แต่ง 1 คน ให้ใช้สกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น ต่อด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ตามด้วยอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี)
  • Jumnamde, G.
ผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้สกุลผู้แต่งคนที่ 1 ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น ต่อด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และใส่  “&” หน้าสกุลผู้แต่งคนที่ 2 ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น ต่อด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
  • Jumnamde, G. & Foyea, D.

หมายเหตุ. เครื่องหมาย / คือเว้นวรรค 1 ระยะหมายเหตุ. เครื่องหมาย / คือเว้นวรรค 1 ระยะ

รูปแบบการลงรายการชื่อผู้แต่ง 3-20 คน

ชื่อผู้แต่งคนไทย 

ลงรายการชื่อผู้แต่งทั้งหมด ให้ลงชื่อ/ สกุลผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วยด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2 และเขียนเช่นนี้ของคนถัดไปจนครบ ใส่ “และ” ไม่เว้นวรรค หน้าชื่อ/สกุลผู้แต่งคนสุดท้าย ตามด้วยมหัพภาค(.)

ชื่อ/สกุล1,/ชื่อ/สกุล2,/ชื่อ/สกุล3,/ชื่อ/สกุล4,ชื่อ/สกุล5,/และชื่อ/สกุล6

  • พชร สันทัด, สุรชาติ ณ หนองคาย, สมาน งามสนิท, ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล, เชษฐรัชดา พรรณาธิกุล, กฤษฎิ์ สถิตย์วัฒนานนท์, และประยงค์ เต็มชวาลา. (2557). ศาสตร์และศิลป์การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สมาคมส่งเสริมคุณธรรม.

ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ 

ลงรายการชื่อผู้แต่งทั้งหมด ใช้สกุล (surname) ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยอักษรย่อของชื่อผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วยด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) สกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยอักษรย่อของชื่อผู้แต่งคนที่ 2  และเขียนเช่นของคนถัดไปจนครบ  ใส่ “&” ชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ตามด้วยมหัพภาค (.)

Surname,/A.1,/Surname,/B.2,/Surname,/C.3,/Surname,/D.4,/&/Surname,/F.5.

  • Johnson, H., Migane, K.L., Yuweanow, J.K., Bern, S., &  Smitth, D.O.

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 7 ระยะ

รูปแบบการลงรายการชื่อผู้แต่งตั้งแต่ 21 คนขึ้นไป

1) ชื่อผู้แต่งคนไทย >> ลงรายการชื่อผู้แต่งทั้งหมด ให้ลงชื่อ/ สกุลผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วยด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2 และเขียนเช่นนี้ของคนถัดไปจนครบคนที่ 19  ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และมหัพภาค 3 จุด (. . .) โดยหน้าและหลังแต่ละจุดต้องเว้นวรรค 1 ระยะ ตามด้วยชื่อ/สกุลผู้แต่งคนสุดท้าย ตามด้วยมหัพภาค (.)

ชื่อ/สกุลคนที่1,/ชื่อ/สกุลคนที่2,/ชื่อ/สกุลคนที่3,/ชื่อ/สกุลคนที่4,………/ชื่อ/สกุลคนที่19,/…/และชื่อ/สกุลคนสุดท้าย.

2) ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ >> ลงรายการชื่อผู้แต่งทั้งหมด ใช้สกุล (surname) ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยอักษรย่อของชื่อผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วยด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) สกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยอักษรย่อของชื่อผู้แต่งคนที่ 2  และเขียนเช่นของคนถัดไปจนครบคนที่ 19 ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และมหัพภาค 3 จุด (. . .) โดยหน้าและหลังแต่ละจุดต้องเว้นวรรค 1 ระยะ ตามด้วยผู้แต่งคนสุดท้าย

Surname,/A.1,/Surname,/B.2,/Surname,/C.3,/Surname,/D.4,…./Surname,/N.19,…/Surname,/N.คนสุดท้าย.

  • Miller, T. C., Brown, M. J., Wilson, G. L., Evans, B. B., Kelly, R. S., Turner, S. T., Lewis, F., Lee, L. H., Cox, G., Harris, H. L., Martin, P., Gonzalez, W. L., Hughes, W., Carter, D., Campbell, C., Baker, A. B., Flores, T., Gray, W. E., Green, G., … Nelson, T. P.

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 7 ระยะ

ปีพิมพ์

ใช้ปีพิมพ์ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาพ (.) ต่อจากชื่อผู้แต่ง

  • ภาษาไทย ใช้ปี พ.ศ.
  • ภาษาอังกฤษ ใช้ปี ค.ศ.

กรณีที่ไม่ปรากฏปีพิมพ์ใช้คำว่า (ม.ป.ป.) ในเครื่องหมายวงเล็บ คือ ไม่ปรากฏปีพิมพ์ สำหรับเอกสารภาษาไทย และ (n.d.) คือ no date สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ต่อจากชื่อผู้แต่ง เช่น

  • ช่อทิพย์ กาญจนศิริ (ม.ป.ป.).
  • Wilson, D. L. (n.d.).

กรณีที่สิ่งพิมพ์ ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์แล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์ให้ระบุคำว่า (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์) สำหรับเอกสารภาษาไทย และระบุคำว่า (in press) สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ไว้ในวงเล็บแทนปีพิมพ์ เช่น

  • ลัดดา สงวนวงศ์. (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์).
  • Gilbert, D. G. (in press).

ชื่อเรื่อง

ชื่อหนังสือ

  • ให้เขียนเป็นตัวเอียง ทั้งชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • สำหรับชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เฉพาะอักษรตัวแรก

ถ้ามีคำอธิบายชื่อเรื่อง หรือ ชื่อเรื่องรอง ให้ใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) คั่นเว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วยอักษร ตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ นอกนั้นใช้ตัวพิมพ์เล็ก 

ชื่อวารสาร

  • ให้เขียนเป็นตัวเอียง ทั้งชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ครั้งที่พิมพ์

การพิมพ์ครั้งที่ 1 

  • ไม่ต้องระบุ

การพิมพ์ครั้งที่ 2 

ใช้สำหรับการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ใส่ครั้งที่พิมพ์ในวงเล็บต่อจากชื่อเรื่อง

  • ภาษาไทย ให้ใช้คำว่า (พิมพ์ครั้งที่ 2) หรือ (พิมพ์ครั้งที่ 3)…
  • ภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำว่า (2nd ed.) หรือ (3rd ed.) หรือ (7th ed.) …
  •  วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2565). เคมีวิเคราะห์ : หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ (พิมพ์ครั้งที่ 2)./…..
  • Sharma, P. (2015). Digestive system (3rd ed.)./…….

สำนักพิมพ์

หนังสือภาษาไทย 

ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โอเดียนสโตร์.
อักษรเจริญทัศน์.

หนังสือภาษาอังกฤษ

ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น

John Wiley and Sons.
Basil Blackwell.
Pearson Education.
Nelson Education.
Oxford University Press.
Penguin Random House.

หมายเหตุ ไม่ต้องใส่ชื่อรัฐ ชื่อเมือง หรือประเทศ

สำนักพิมพ์เป็นชื่อหน่วยงาน/สถาบัน 

ให้ใส่ชื่อหน่วยงานรองแล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานหลัก สำหรับเอกสารภาษาไทย ให้เว้น 1 ตัวอักษร ระหว่างชื่อหน่วยงานรองกับหน่วยงานหลัก เช่น

กองสุขศึกษา กรมอนามัย.
ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในกรณีที่เป็นเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างชื่อหน่วยงาน เช่น

Epidemiology Division, World Health Organization.

กรณีที่หน่วยงาน/สถาบัน เป็นทั้งผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ 

ในส่วนของผู้จัดพิมพ์ให้ใส่ชื่อย่อหรือใส่ข้อความสั้นๆ ในส่วนของสำนักพิมพ์ เช่น กรม, มหาวิทยาลัย, The Association, The Society เป็นต้น

  • World Health Organization. (2008). Report of mortality. WHO.
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาพยาธิวิทยา. (2552). รายงานประจำปี 2551.
    มหาวิทยาลัย.
  • กรมอนามัย.กองโภชนาการ. (2545). แคลเซียมเพื่อสุขภาพ. กรม.
  • American Nurses Association. (2009). H1N1 (Swine Flu): Information for nurses. Silver Spring, The Association.
  • กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา. (2552). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2551. กรม.

กรณีที่ไม่มีสถานที่พิมพ์  (กรณีไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ในตัวเล่ม)

ให้ใช้คำดังนี้แทนสถานที่พิมพ์

ม.ป.ท. หมายถึง ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ (สำหรับงานที่เป็นภาษาไทย)

n.p. หมายถึง no place (สำหรับงานที่เป็นภาษาต่างประเทศ)

เช่น

  • สถาบันพัฒนาและรับรองมาตรฐาน. (2548). เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ: คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (ฉบับปรับปรุงคร้ังที่ 2). ม.ป.ท.: สถาบัน.

การจัดเรียงรายการอ้างอิง

ภาษาไทย  >> ใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยเรียงตามรูปพยัญชนะ ก-ฮ ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกันให้เรียงตามรูปสระ ดังนี้

อะ อัว อัวะ อา อ า อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ

ภาษาอังกฤษ >> ใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำใน Dictionary โดยเรียง A-Z

การเรียงลำดับงานหลายงานที่มีชื่อผู้แต่งคนแรกเป็นชื่อคนเดียวกัน

ถ้าชื่อผู้แต่งทุกคนเหมือนกัน ให้จัดเรียงตาม ปีที่พิมพ์
  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563).
  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2565).
  • Cabading, J. R., & Wright, K. (2000).
  • Cabading, J. R., & Wright, K. (2001).
ถ้าชื่อผู้แต่งที่แตกต่างกัน ให้จัดเรียงตามงานที่มีชื่อผู้แต่งคนเดียวมาก่อนงานที่มีชื่อผู้แต่งร่วม
  • จิรนันท์ ศิริวงศ์. (2550).
  • จิรนันท์ ศิริวงศ์ และปัณฑิตา ศิริวงศ์. (2552).
  • Alleyne, R. L. (2001).
  • Alleyne, R. L., & Evans, A. J. (1999).
ถ้าชื่อผู้แต่งคนแรกเป็นคนเดียวกันและชื่อผู้แต่งคนที่สอง หรือคนที่สามต่างกัน ให้จัดเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อสกุลของผู้แต่งคนที่สอง และคนที่สามตามลำดับ
  • กฤษณ์ ตันเสถียร, จุฑารัตน์ ธรรมาไทย, และคำแก้ว รัตน์วงศ์. (2549).
  • กฤษณ์ ตันเสถียร, จุฑารัตน์ ธรรมาไทย, และพิพัฒน์พงษ์ โพธิ์ขันธ์. (2551).
  • Boockvar, K. S., & Burack, O. R. (2007).
  • Boockvar, K. S., LaCorte, H. C., Giambanco, V., Friedman, B., & Siu, A. (2006).
ถ้าชื่อผู้แต่งคนแรกมีชื่อสกุลเหมือนกัน ให้จัดเรียงตามลำดับอักษรย่อชื่อต้น และชื่อกลางของชื่อผู้แต่งคนแรก
  • Mathur, A. L., & Wallston, J. (2009).
  • Mathur, S. E., & Ahlers, R. J. (1998).

รูปแบบการเขียนอ้างอิง/บรรณานุกรม (Reference)

การเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรมใน APA7th ยังยึดเยารูปแบบ APA ในรุ่นก่อนหน้าหากเพียงเพิ่งการอ้างอิงจากสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรูปแบบดังนี้

บทความในวารสาร (Journal Articles)

บทความในวารสารแบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีเลข DOI

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2014). การออกแบบเซนเซอร์ทางเคมีสำหรับตรวจวัดไอออนปรอทด้วยตาเปล่า. วารสารวิทยาศาสตร์ มข.42(4), 748-760.
  • Chansuvarn, W., Tuntulani,  T. &  Imyim, A. (2015). Colorimetric detection of mercury(II) based on gold nanoparticles, fluorescent gold nanoclusters and other gold-based nanomaterials. TrAC Trends in Analytical Chemistry,  125(65), 83-96.

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 5-7 ระยะ

บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์

 บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (มีเลข DOI)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./http://doi.org/เลข doi

  • Chansuvarn, W., & Jainae, K. (2015). Adsorption of Pb(II) from aqueous solution onto manganese oxide-modified laterite soi. 2015 International Conference on Science and Technology (TICST). 2015(-), 100-109. https://doi.org/10.1109/TICST.2015.7369360.
  • Herbst-Damm, K. L., & Kulik, J. A. (2005). Volunteer support, marital status, and the survival times of terminally ill patients. Health Psychology, 24(4), 225-229. https://doi.org/10.1037/0278-6133.24.2.225

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 5-7 ระยะ

หนังสือ (Book)

หนังสือ

ภาษาไทย :  ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.

  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2565). เคมีวิเคราะห์ : หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • เทพรัตน์ พิมลเสถียร. (2560). นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภาษาอังกฤษ : Author. (Year)./Title of the book/(Edition ed.)./Publisher.

  • Covey, S. R. (2013). The 7 habits of highly effective people: Powerful lessons in personal change. Simon & Schuster.
  • Shotton, M. A. (1989). Computer addiction? A study of computer dependency. Taylor & Francis.

กรณีที่ผู้แต่งเป็นนิติบุคคล เช่น หน่วยงาน องคก์ร บริษัท และเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ให้ใส่ชื่อย่อหรือใส่ข้อความสั้นๆ ในส่วนของสำนักพิมพ์หรือ ผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ได้ เนื่องจากได้เขียนชื่อเต็มไวใ้นส่วนของผู้แต่ง เช่น WHO, The Association, The Institute, The Foundation, The Council, The Society, มหาวิทยาลัย, สถาบัน, กรม,โรงพยาบาล เป็นต้น

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (ม.ป.ป.). วิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราระห์อาหาร เล่มที่ 1. กรม.
  • มูลนิธิ สอวน. (2550). เคมี 3: แก๊ส เทอร์โมไดนามิกส์ สมดุลเคมี ไฟฟ้าเคมี จลนศาสตร์เคมี.  ด่านสุทธาการพิมพ์.
  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือการสำรวจและตรวจสอบการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินจากการประกอบการอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรม.
  • World Health Organization. (2013). The world health report 2013: Research for universal health coverage. WHO

หนังสือแปล

ภาษาไทย :  ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่องหนังสือภาษาต้นฉบับ/[ชื่อหนังสือภาษาไทย]/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.

  • ฮอว์คิง เอส. (2552). The illustrated: A brief history of time [ประวัติย่อของกาลเวลาฉบับภาพประกอบ] (พิมพ์ครั้งที่ 17). มติชน.

บทความหรือบทในหนังสือ (Book chapter)

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.), ชื่อหนังสือ/(น./เลขหน้า)./สำนักพิมพ์.

ภาษาอังกฤษ :  Author. /(Year)./Title of the chapter./In Editor/(Eds.),/Title of the book./(pp./xx-xxx)./Publisher.

  • วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมืองของกีตาโน มอสกา กับชนชั้นนำทางการเมืองไทยในยุคมาลานำไทย. ใน วัชรพล ศุภจักรวัฒนา และวัชรพล พุทธรักษา (บ.ก.), ว่าด้วยทฤษฎีรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 47-68). สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 5-7 ระยะ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่มี DOI

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่)./URL

  • องอาจ มหานิยม. (2007). ประวัตศาสตร์ไทยโดยสังเขป. http://www.museum-press.com

ภาษาต่างประเทศ >> Author/(Year)./Title of the book/(Edition ed.)./URL

  • O’ Keefe, E. (n.d.). Egoism & the crisis in Western values. http://www.onlineoriginals.com/showitem.asp.

บทความหรือบทในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Chapter in e-book from database)

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่งในบท./(ปีพิมพ์)./ชื่อบท./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ
(พิมพ์ครั้งที่,/หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบท)./URL

ภาษาต่างประเทศ : Author/(Year)./Title of the chapter./In Editor/(Eds.),/Title of the book/(Edition ed.,/pp./xx-xxx)./URL

  • Thamsumet, N., Ittibenjapong, C., Kanjanahitanon, P., Chaichamni, P. & Panich, S. (2021). 1 Green Synthesis of Silver Nanoparticles from Catunaregam Tomentosa Extract. In P. Ramasami (Eds.), Volume 2 Green and Sustainable Processing (pp. 1-12). De Gruyter. https://doi.org/10.1515/9783110726145-001
  • Starke, J. R. (2011). Tuberculosis: Mycobacterium tuberculosis. In R. M. Khegman, B. F. Stanton, J. W. Geme, N. F. Schor, R. E. Behrman (Eds). Nelson textbook of pediatrics (9th ed.,pp. 996-1011). http://www.clinicalkey.com

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มี DOI

ภาษาไทย : ชื่อ นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่)./https:/doi.org/xxxxxxxx
ภาษาต่างประเทศ : Author, A. A. (Year)./Title of the book./(Edition ed.)./https:/doi.org/xxxxxxxx

  • Brück, M. (2009). Women in early British and Irish astronomy: Stars and satellites. Springer Nature. https:/doi.org/10.1007/978-90-481-2473-2

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 5-7 ระยะ

วิทยานิพนธ์ (Theses & Dissertations)

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่ได้ตีพิมพ์

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

  • อลิษา มิตรานนท์. (2556). ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • จรัส ลัดดาพันธ์. (2549). การปฏิบัติของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนกำลังคนทางการพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาษาต่างประเทศ : Author./Thesis title/[Unpublished doctoral dissertation or Unpublished master’s thesis]./University.

  • Chansuvarn, W. (2012). Spectrometric analysis of mercury(II) ion using gold nanoparticles stabilized by dithia-diaza ligands [Unpublished doctoral dissertation]. Chulalongkorn University.

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตากเว็บไซต์ (ไม่อยู่ในฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์)

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง/(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]./ชื่อเว็บไซต์./URL

  • วันชนะ จูบรรจง. (2560). ระบบสนับสนุนการประมาณการสัมผัสแคดเมียมผ่านการบริโภคอาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

ภาษาต่างประเทศ >> Author./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[Doctoral dissertation or Master’s thesis]./ชื่อเว็บไซต์./URL

  • Miller, T. (2019). Enhancing readiness: An Exploration of the New Zealand Qualified Firefighter Programme [Master’s thesis, Auckland University of Technology]. Tuwhera. https://openrepository.aut.ac.nz/handle/10292/12338

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจากฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI หรือ เลขลำดับอื่น ๆ)/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]/ชื่อฐานข้อมูล.

ภาษาต่างประเทศ : Author/(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI หรือ เลขลำดับอื่น ๆ)/[Doctoral dissertation or Master’s thesis, ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล.

  • Becker, J. C. (2013). Landscape-level influences on community composition and ecosystem function in a large river ecosystem (Publication No. 3577776) [Doctoral dissertation, Graduate Council of Texas State University – San Marcos]. ProQuest Dissertations and Theses Global.

หมายเหตุ. การขึ้นบรรทัดใหม่ บรรทัดที่สองให้เว้นวรรค 5-7 ระยะ

รายงานการประชุมเชิงวิชาการ (Proceeding)

ในรูปแบบรูปเล่มหนังสือ

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง./(ปี)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.),/ชื่อหัวข้อการประชุม./ชื่อการประชุม/(น./เลขหน้า)./ฐานข้อมูล.

  • พัชราภาตันติชูเวช. (2553). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย. ใน ศิริชัย กาญจนวาสี (บ.ก.), การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ (น. 97-102). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาต่างประเทศ :  Author./(Year)./Title./In/ Editor /(Ed. หรือ Eds.), Title of conference./Title of conference /(pp./xx-xxx)./database.

  • Katz, I., Gabayan, K., & Aghajan, H. (2007). A multi-touch surface usingmultiple cameras. In J. Blanc-Talon, W. Philips, D. Popescu, & P. Scheunders (Eds.), Lecture notes in computer science: Vol. 4678. Advanced conceptsfor intelligent vision systems (pp. 97-108). Springer-Verlag. https://doi.org/10.1007/978-3-540-74607-2_9

หมายเหตุ กรณีมีเลข DOI หรือ URL ให้เติมต่อท้ายจากฐานข้อมูล

ในรูปแบบวารสาร

ภาษาไทย : ชื่อผู้แต่ง./(ปี)./ชื่อเรื่อง:/ชื่อเรื่องย่อย./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./URL
ภาษาต่างประเทศ : Author./(Year)./Title:/Sub-title./Journal,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./URL

  • Chaudhuri, S., & Biswas, A. (2017). External terms-of-trade and labor marketimperfections in developing countries: Theory and evidence. Proceedings of the Academy of Economics and Economic Education20(1), 11-16. https://search-proquest-com.elibrary.jcu.edu.au/docview/1928612180?accountid=16285

เอกสารประกอบการประชุม/การประชุมวิชาการที่ไม่มี proceeding (Symposium)

บทความ หรือ บทหนึ่งในหนังสือการประชุม

ให้เขียนเช่นเดียวกับบทหนึ่งในหนังสือ(Chapter in book) ชื่อการประชุมหรือการอภิปรายใช้ตัวเอียง และใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกทุกคำของชื่อการประชุม/การอภิปราย

ชื่อผู้แต่ง./(วัน,/เดือน,/ปี)./เรื่องที่ประชุม./ใน/ชื่อ/(ประธาน),/ชื่อการประชุม/[Symposium]./ชื่องานที่จัดประชุม,/สถานที่ประชุม

Author./(Year,/Month/day)./Title of contribution./In/Chair name/(Chair),
/Title of the Symposium/[Symposium]./Conference Name,/Location.

  • สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ์, และรัตนา เตียงทิพย์. (2552). การหาโปรตีนในปัสสาวะที่บ่งชี้โรคไตด้วยวิธีโปรติโนมิกส์. ใน ขจร ลักษณ์ชยปกรณ์ (ประธาน), Changes: New Trends in Medicine. การประชุมวิชาการคณะ แพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2552 (หน้า 52-59). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • Cochrane, T. & Narayan, V. (2019, February 14–15). Evaluation the CMALT cMOOC: An agile and scalable professional development framework. In R. Shekhawat (Chairs). Breakout session [Symposium]. Scholarship of Technology Enhanced Learning Symposium, Auckland, New Zealand.

บทความ/โปสเตอร์ที่นำเสนอในที่ประชุมที่ไม่ได้ตีพิมพเ์ผยแพร่ (Unpublished paper or poster session presented at meeting)

กรณีบทความ ให้ระบุคำว่า “เอกสารนำเสนอในที่ประชุม” สำหรับเอกสารภาษาไทย หรือ Paper presented at…. สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ

กรณีโปสเตอร์ ให้ระบุคำว่า“โปสเตอร์นำเสนอในที่ประชุม” สำหรับเอกสารภาษาไทย หรือ Poster session presented at…..สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ

เอกสารนำเสนอในที่ประชุมที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเฉพาะบทคัดย่อ (Conference paper abstract retrieve online)

ให้เขียนคำว่า “Abstract retrieved from” สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ หรือ “บทคัดย่อ ค้นจาก” สำหรับเอกสารภาษาไทย ต่อจากชื่อการประชุม

  • Johannes, A., Zollhoefer, B., Kredel, M., Roewer, R., Muellenbach, R. M. (2009, October). Maximization of oscillatory frequencies during HFOV: A long term large animal study of ARDS. Paper presented at The 2009 ASA Annual Meeting. Abstract retrieved from
    http://www.asaabstracts.com/strands/asaabstracts/abstract.htm

การนำเสนองานวิจัยหรือการนำเสนอโปสเตอร์ (Paper/ Poster Presentation)

การนำเสนองานวิจัยหรือการนำเสนอโปสเตอร์ (Paper/ Poster Presentation)

ภาษาไทย >> ชื่อผู้แต่ง./(ปี,วัน/เดือน)./ชื่อเอกสาร หรือโปสเตอร์/[เอกสารนำเสนอในที่ประชุม หรือ โปสเตอร์นำเสนอในที่ประชุม]./ชื่อการประชุม,/สถานที่.

ภาษาต่างประเทศ >> Author./(Year,/Month/day)./Title of conference paper or poster/[Paper presentation or Poster presentation]./Conference Name,/Location.

หมายเหตุ. กรณีมีเลข DOI หรือ URL ให้เติมต่อท้ายจากสถานที่ 

Paper presentation

  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, สิริรัตน์ พานิช, และอัญชนา ขัตติยะวงศ์. (2564, 30 สิงหาคม). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดดอกขลู่  [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 4 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ COVID-19”. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพมหานคร. 

Poster presentation

  • Chansuvarn, W. & Jainae, K. (2015, Nov 4-6). Adsorption of Pb(II) from aqueous solution onto manganese oxide-modified laterite soil  [Poster presentation]. 2015 International Conference on Science and Technology (TICST), Pathum Thani, Thailand. https://ieeexplore.ieee.org/document/7369360

รายงาน/การสัมมนา/อภิปราย

รายงาน

รายงานที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอื่น

ภาษาไทย >> ชื่อหน่วยงาน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL(ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ >> ชื่อหน่วยงาน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL(ถ้ามี)

  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). รายงานประจำปี 2561. 21 เซ็นจูรี่. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc_annual_report_2561.pdf
  • National Cancer Institute. (2019). Taking time: Support for people with cancer (NIH Publication No. 18-2059). U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health. https://www.cancer.gov/publications/patient-education/takingtime.pdf
รายงานที่จัดทำโดยผู้เขียนรายบุคคลสังกัดหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอื่น

ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL(ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ >> Author, A./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL(ถ้ามี)

รายงานการประชุม/การสัมมนา/อภิปราย

ภาษาไทย >> ชื่อหน่วยงานที่จัดประชุม./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่องการประชุม./ชื่อการประชุม./สถานที่จัดประชุม.

  • สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย. (2563). นักกำหนดอาหารกับการเปลี่ยนแปลงในยุคนวัตกรรมพลิกผัน. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร.

เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (เอกสารประกอบการเรียน)

ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเอกสาร [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]./คณะ, มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ >> Author, A./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเอกสาร [Unpublished manuscript]./คณะ, มหาวิทยาลัย.

  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2559). หลักการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือโดยอาศัยกราฟมาตรฐาน [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

หนังสือพิมพ์/แผ่นพับ/จุลสาร

หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 

ชื่อผู้แต่ง./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า. 

  • พงษ์พรรณ บุญเลิศ. (2561, 15 สิงหาคม). เดลินิวส์วาไรตี้: ‘สื่อพิพิธภัณฑ์’เชื่อมยุคสมัยเข้าถึงด้วย ‘มิติใหม่’ อินเทรนด์. เดลินิวส์, 4

แผ่นพับและจุลสาร

เขียนเช่นเดียวกับหนังสือแต่ใส่คำว่า [แผ่นพับ] หรือ [Brochure] [จุลสาร] หรือ [Pamphlet] หลังชื่อเรื่อง

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/[แผ่นพับ]./สำนักพิมพ์.

  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาศัลยศาสตร์. (2552). มารู้จักมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง…กันเถอะ  [แผ่นพับ]. มหาวิทยาลัย.
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. ฝ่ายผู้ป่วยนอก. หน่วยสุขศึกษา. (ม.ป.ป.). คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม [แผ่นพับ]. http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/takecare_sex/index.html

เว็บไซต์ หรือเว็บเพจบนเว็บไซต์ (webpage on website)

ผู้เขียนเป็นบุคคล (Individual author)

ภาษาไทยชื่อ-สกุลผู้เขียน./(ปี/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

  • วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563, 17 พฤษภาคม). รู้ก่อนใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ. Active Learning : Learning for All. http://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=2941
  • ทรงสุดา ภู่สว่าง. (ม.ป.ป.). โภชนาการในชีวิตประจำวัน. http://www.human.cmu.ac.th/home/hc/ebook/006103/lesson7/01.htm
  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2554, 27 เมษายน). การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา. จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia).http://www.chulapedia.chula.ac.th=การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา

 ภาษาต่างประเทศAuthor, A./(ปี, เดือน/วันที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

  • Johnson, A. (2018, May 24). “It doesn’t need to be this way”: The promise of specialized early intervention in psychosis services. IEPA. https://iepa.org.au/network-news/it-doesnt-need-to-be-this-way-the-promise-of-specialised-early-intervention-in-psychosis-services
  • Tomoyuki Ohe. (2019, August 29). The chemical structure of drugs affects their toxicity. Keio Research Highlights. https://research-highlights.keio.ac.jp/2019/08/b.html

ผู้เขียนเป็นกลุ่ม (Group author)

กรณีชื่อผู้เขียนและชื่อเว็บไซต์เป็นชื่อเดียวกัน ไม่ต้องเขียนชื่อเว็บไซต์

  • Association of Massage Therapists. (n.d.). Benefits of massage.  http://www.amt.org.au/massage-and-you/benefits-of-massage.html
  • Black Dog Institute. (2017). Managing depression with exercise. https://www.blackdoginstitute.org.au/docs/default-source/factsheets/managingdepressionwithexercise.pdf?sfvrsn=16

ไม่ระบุผู้เขียน (No identified author)

กรณีไม่สามารถระบุผู้เขียนได้ ให้ใช้ชื่อเรื่อง (ตัวเอน) แทน

  • Researchers replicate famous marshmallow test, make new observations(2018, May 25). Medical Xpress. https://medicalxpress.com/news/2018-05-replicate-famous-marshmallow.html?utm_source=tabs&utm_medium=link&utm _campaign=story-tabs

Blog Post & Comment

  • Stafford, T. (2018, January 3). The backfire effect is elusive. Mind Hacks. https://mindhacks.com/2018/01/03/the-backfire-effect-is-elusive/

Wikipedia

  • Global warming. (2019, December 9). In Wikipedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming Psychometric assessment. (n.d.). In The psychology wiki. Retrieved January 28, 2009, from http://psychology.wikia.com/wiki/Psychometric_assessment

หมายเหตุ*กรณีที่ไม่มีวันที่เผยแพร่ปรากฏ ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
*กรณีที่มีปรากฏเฉพาะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ให้ใส่แค่ (ปี) เท่านั้น
*กรณีชื่อผู้เขียนและชื่อเว็บไซต์เป็นชื่อเดียวกัน ให้ตัดชื่อเว็บไซต์ออก
*ผู้เขียนอาจเป็นหน่วยงาน องค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างสรรค์ ผลิตหรือเผยแพร่*กรณีไม่สามารถระบุผู้เขียนได้ ให้ใช้ชื่อเรื่อง (title) แทน (เป็นตัวเอน)

โซเชียลมีเดีย (Social Medias)

Twitter ตัวอักษร

Author, A. A./[@username]./(Year,/Month/date หรือ n.d.)./เนื้อหาของโพสต์ 20 คำแรก./[Tweet].
Twitter./URL

  • Ardern, J. [@jacindaardern]. (2018, October 15). I salute you@Kereru4PM #BirdOfTheYear
    [Tweet]. Twitter. https://twitter.com/jacindaardern/status/1051569120066469889

Twitter รูปภาพและวิดีโอ

Author, A. A./[@username]./(Year,/Month/date หรือ n.d.)./เนื้อหาของโพสต์ 20 คำแรก./[Image or
Video attached] [Tweet]. Twitter./URL

  • Figure.NZ [@figurenz]. (2019, October 15). Looking forward to resting up over the holidays?
    [sleeping face emoji] [beach with umbrella emoji] NZ #Health Survey figures show about
    70% of adults meet sleep duration… [Image attached] [Tweet]. Twitter.
    https://twitter.com/FigureNZ/status/1207422765986279424

Facebook post

Author, A. A./(Year,/Month/date หรือ n.d.)./เนื้อหาของโพสต์ 20 คำแรก./[Video or Image attached]. Facebook./URL

  • สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Book Overview] ศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการลงทุนเน้นคุณค่าโดย
    ผศ. ดร.สัมพันธ์ เนตยานันท์… [Video]. Facebook. https://www.facebook.com/ NU.publishing.house/videos/500261141462779

Instagram

Author, A. A./[@username]./(Year,/Month/date หรือ n.d.)./เนื้อหาของโพสต์ 20 คำแรก./[Photograph]. Instagram./URL

  • New Zealand Police [newzealandpolice]. (2019, November 15). Class of 2019 // Wellington dogsection [paw prints emoji] #fridayfloof [Photograph]. Instagram. https://www.instagram.com/p/B43Cl_-J9pN/

YouTube หรือ streaming video

Uploader, U. U./(Year, Month Day)./Title of work/[Video]./YouTube.URL

  • MSNBC. (2020, January 7). Julián Castro endorses Elizabeth Warren [Video]. YouTube.
    https://www.youtube.com/watch?v=Uk2Tzc8H5po

TikTok

Cook, P. [@chemteacherphil]. (2021, September 17). Fighting fire with fire#sciencetok #learnontiktok [Video]. TikTok. https://www.tiktok.com/@chemteacherphil/video/7008953610872605957

Washington Post [@washingtonpost]. (2019, December 3). News is all around us #frozen #newsroom #newspaper [Video]. TikTok. https://www.tiktok.com/@washingtonpost/video/6765886712896818437

Online Course or MOOC References

  • Jackson, M. O., Leyton-Brown, K., & Shoham, Y. (n.d.). Game theory [MOOC]. Coursera. https://www.coursera.org/learn/game-theory-1

Lecture from an online course or MOOC

  • Tangen, J. (2016). Episode 2: I heard a tapping somewhat louder than before [MOOC lecture]. In E. MacKenzie, J. Tangen, & M. Thompson, The science of everyday thinking. edX. https://www.edx.org/course/the-science-of-everyday-thinking

Podcast

Meraji, S. M., & Demby, G. (Hosts). (2016–present). Code switch [Audio podcast]. National Public Radio. https://www.npr.org/podcasts/510312/codeswitch

Seales, A. (Host). (2018–present). Small doses with Amanda Seales [Audio podcast]. Starburns Audio.

Podcast episode

  • Hannah-Jones, N. (Host). (2019, September 13). How the bad blood started (No. 4) [Audio podcast episode]. In 1619. The New York Times. https://podcasts.apple.com/us/podcast/episode-4-how-the-bad-blood-started/id1476928106?i=1000449718223
  • Webster, M., & Abumrad, J. (Hosts). (2020, September 11). Bringing gamma back, again [Audio podcast episode]. In Radiolab. WNYC Studios. https://www.wnycstudios.org/podcasts/radiolab/articles/bringing-gamma-back

แหล่งอ้างอิงหลัก


1. การอ้างอิงสารสนเทศตามแบบ APA (7th edition)

2. APA Manual 7th edition: The most notable changes

3. APA Style Introduction

4. APA 7th Referencing: Getting Started in APA 7th

ขอขอบคุณ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
error: Content is protected !!