วิจัยในชั้นเรียน 5 บท เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องภัยธรรมชาติและปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ผ่านการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก โดยคุณครูพรพรรณ ปิ่นเงิน
วิจัยในชั้นเรียน 5 บท เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องภัยธรรมชาติและปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ผ่านการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก โดยคุณครูพรพรรณ ปิ่นเงิน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การ
สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ผ่านการจัดทำ
หนังสือเล่มเล็ก ที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องภัยธรรมชาติและปรากฏการณ์เรือนกระจก ของบทเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 34 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
(5E) ร่วมกับการส่งสริมการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ผ่านการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก เรื่องภัย
ธรรมชาติและปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างการจัดกิจกรรมมีการ
ปฏิบัติการทดลอง จัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่าน (หนังสือเล่มเล็ก) หลังจากจบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ทดสอบโดยการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบ จากนั้นผู้วิจัยจึงประเมินวิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ผลการวิจัยปรากฏว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ผ่านการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก เรื่องภัยธรรมชาติ และปรากฏการณ์เรือนกระจกแล้ว ผู้วิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังงานวิจัยนี้มีความเหมาะสมอยู่ใน
ระดับดี และควรปรับปรุงการจัดกิจกรรมจากบันทึกหลังการจัดกิจกรรมต่อไป มีผลการประเมินการปฏิบัติการ
ทดลองร่วมกับแบบฝึกหัดสริมทักษะ และสามารถบูรณาการสร้างองค์ความรู้รูปแบบสื่อส่งเสริมการอ่าน
(หนังสือเล่มเล็ก) ได้ในระดับดีมากเป็นส่วนใหญ่ (ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100 , ร้อยละ 82.35 และร้อยละ
73.33 ตามลำดับ) และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนสามรถทำแบบทดสอบได้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ
94.12
ตัวอย่างไฟล์ วิจัยในชั้นเรียน 5 บท
ขอบคุณไฟล์ : คุณครูพรพรรณ ปิ่นเงิน