วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียน เรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด

วิจัยในชั้นเรียน เรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จัดทำโดย นางสาวพัชรีภรณ์ ภู่คง ตำแหน่งครูชำนาญการ

ชื่อวิจัย : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน
สะกดคำ
ที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้วิจัย : นางสาวพัชรีภรณ์ ภู่คง
หน่วยงาน : โรงเรียนอนุบาลวังเจ้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
ปีที่ทำการวิจัย : 2566

บทคัดย่อ

การทำวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ เรื่อง ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำกับเกณฑ์ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใข้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องมาตราตัวสะกด ที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา2) แบบทดสอบการอ่านคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองในรูปของ (One Group Pre- test Post-test Design) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนดรหัสคำเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สีกำหนตรหัสคำเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนสอบหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลวังเจ้า จังหวัดตาก

Back to top button
error: Content is protected !!