บทความ

ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565

ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เผยแพร่ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565 ซึ่งยกเลิกข้อบังคับฯ ฉบับเดิม ปี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในปัจจุบัน ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มีรายละเอียดดังนี้

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับคุรสภาว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในปัจจุบัน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (11) (ข) (ค) (ง) มาตรา 45 และมาตรา 47 ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 โดยความเห็นซอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุรุสภาจึงออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565”
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันป ระกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565
ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565

ข้อ 3 ให้ยกเลิก
(1) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559
(2) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้
“วิชาชีพ ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา
ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการประกอบวิชาชีพควบคุม
“ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู”หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับนี้
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิซาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งครูก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับนี้ และผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และผ่านเกณฑ์การประเมินตามระดับคุณภาพ
ของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด หรือผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและมีวิทยฐานะตั้งแต่ระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ซึ่งเป็น
บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยการประกอบวิซาชีพควบคุม
“คำขอ” หมายความว่า คำขอรับใบอนุญาต คำขอหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอใบแทนใบอนุญาต หรือคำขอแก้ไขข้อมูลทางทะเบียน
ผู้ได้รับใบอนุญาต
“คำร้อง” หมายความว่า คำร้องที่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือผู้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตประสงค์ให้พิจารณาอนุมัติใบอนุญาต ในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติของคณะกรรมการ
“กลุ่มวิชา” หมายความว่า กลุ่มวิชาที่ระบุในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคุรุสภา
“สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับ
การปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้คำวินิจฉัยของประธานกรรมการคุรุสภาตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นที่สุด

ข้อ 6 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น
และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง
(2) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
(3) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
(4) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก็

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เผยแพร่ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565 ซึ่งยกเลิกข้อบังคับฯ ฉบับเดิม ปี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในปัจจุบัน ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท 
(1) ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง
(2) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
(3) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
(4) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์

16 มีนาคม 2566 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเปลี่ยนเป็น

  1. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น สำหรับผู้ขอครั้งแรก
  2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง สำหรับข้าราชการครูผู้มีวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป 

ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้ว ในการต่ออายุครั้งถัดไป จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ และ ก.ค.ศ. จะเตรียมพัฒนาครูผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูงต่อไป 

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก
1. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565  ประกาศใช้ 15 ธันวาคม 2565  บังคับใช้ 16 มีนาคม 2566
2. เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ

ดาวน์โหลด :: ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565

Related Articles

Back to top button
error: Content is protected !!