บทความ

ด่วนที่สุด สพฐ. แจ้งแนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด่วนที่สุด สพฐ. แจ้งแนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ มีนยบาย เรียนดี มีความสุข และให้ความสำคัญกับระบบการแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินกิจกรรมแนะแนวอย่างรอบต้าน ๓ ขอบข่าย ด้านการศึกษา อาชีพ และส่วนตัวและสังคม รวมทั้งการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะที่จำเป็นเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามที่มีรายงานและข้อมูลนักเรียนที่มีความต้องการการดูแลในมิติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โตยเฉพาะ ด้านสุขภาพจิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้ให้ความสำคัญในการแนะแนว และได้จัดส่งแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระตับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำไปเป็นแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม แนะแนว กิจกรรมโยมรูม และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนในพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนได้รับกรแนะแนที่สอดคล้งกับสถานการณ์ ส่งเสริมให้นักเรียนได้คันพบตนเองเสริมสร้างทักษะชีวิต ป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน และได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ได้รับการดูแลช่วยเหลือแระแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงทีและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยมีความสุข นั้น

ในการนี้ สำนักงานณะกรรมการก”รศึกษาชั้นพื้นฐาน พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแล และการแนะแนวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่งเสริมให้นักเรียนได้คันพบตนเอง เสริมสร้างทักษะชีวิตป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน และจัดการอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพจึงขอความร่วมมือให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดส่งแนวทางปฏิบัติการจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม และการตูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายละเอียดตังสิ่งที่ส่งมาด้วย ให้กับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและปรับประยุกต์ใช้ในการจัตกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม และการดูแลสุขภาฬจิตนักเรียนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่

ด่วนที่สุด สพฐ. แจ้งแนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน

แนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูมและการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบาย เรียนดี มีความสุข และให้ความสำคัญกับระบบการแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินกิจกรรมแนะแนวอย่างรอบด้าน ๓ ขอบข่าย ด้านการศึกษา อาชีพ และส่วนตัวและสังคม รวมทั้งการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะที่จำเป็น เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามที่มีรายงานและข้อมูลนักเรียนที่มีความต้องการการดูแลในมิติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้ให้ความสำคัญในการแนะแนว และได้จัดส่งแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมโฮมรูม และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำไปเป็นแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม และการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนในพื้นที่เพื่อให้นักเรียนได้รับการแนะแนวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่งเสริมให้นักเรียนได้ค้นพบตนเอง เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน และได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ได้รับการดูแลช่วยเหลือและแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงทีและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยมีความสุข โดยมีแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูมและการดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

แนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม

๑. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม พัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนตามความสนใจความถนัดของแต่ละบุคคล ส่งเสริมให้นักเรียนค้นพบตนเอง ตัดสินใจเลือกและวางแผนเส้นทางการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ มีภูมิคุ้มกันและมีสุขภาวะที่ดี โดยสถานศึกษาควรมีการดำเนินการ ดังนี้

๑.๑ ผู้บริหาร
๑) ให้ความสำคัญ กำหนดนโยบาย แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวที่ชัดเจนครอบคลุมกิจกรรมแนะแนว ๓ ขอบข่าย การแนะแนวด้านศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบท
๒) ส่งเสริมให้ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เทคนิค กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนว การให้การปรึกษาและการดูแลส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียน
๓) พัฒนางานแนะแนว ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนงานแนะแนวในสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง
๔) กำกับ ติดตาม หนุนเสริม ครูแนะแนวและการดำเนินการแนะแนวในสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบันและมีประสิทธิภาพ

๑.๒ ครูแนะแนว
๑) ดำเนินการจัดบริการงานแนะแนว ๕ ด้าน และจัดกิจกรรมแนะแนวที่ครอบคลุมกิจกรรมแนะแนว ๓ ขอบข่าย การแนะแนวด้านศึกษา มีขอบข่ายตั้งแต่การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนการพัฒนาข้อมูลและช่องทางที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดทั้งการสร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแนะแนวด้านอาชีพ มีขอบข่ายตั้งแต่การสร้างเจตคติที่ดีต่อการทำงาน รับรู้เกี่ยวกับโลกอาชีพที่สอดคล้องกับปัจจุบันและอนาคต ค้นพบตนเอง (Career Exploration) ตัดสินใจ วางแผนเส้นทางการศึกษา เตรียมตัว และพัฒนาตนเอง ตลอดจนทักษะในการประกอบอาชีพ และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม มีขอบข่าย ตั้งแต่การรู้จักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น การรู้จักปรับตัวและจัดการปัญหา การพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้มีบุคลิกภาพ ความพร้อมในการดำเนินชีวิต มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี

๒) ให้การดูแล ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขปัญหา และให้การปรึกษานักเรียนอย่างเหมาะสม รวมทั้งประเมินความเสี่ยง จับสัญญาณอันตรายหรือความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มส่งผลกระทบกับนักเรียน

๓) ทำงานร่วมกับครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง รวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานแนะแนวที่ก่อเกิดประโยชน์และความปลอดภัยของนักเรียน

๒. กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม ผ่านการทำกิจกรรมหรือกระบวนการที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น การรู้จักตนเอง การรู้จักผู้อื่นและสังคม ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการปรับตัวและการวางแผนชีวิต เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะจัดในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็ได้ โดยจัดให้มีบรรยากาศอบอุ่น เป็นมิตร ปลอดภัย ที่มีครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น และนักเรียนเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด ให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนและเพื่อนนักเรียน ถ้านักเรียนรู้สึกคุ้นเคยและไว้วางใจครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้นแล้ว นักเรียนมีแนวโน้มที่จะกล้าพูดคุยปรึกษาปัญหาของตนเองกับครูมากขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนได้ทันท่วงทีและยังเป็นอีกกิจกรรมที่ครูจะได้แนะแนวเรื่องการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม ชี้แจงรายละเอียดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน รวมไปถึงช่วยประเมินความเสี่ยง แก้ปัญหาให้แก่นักเรียนอีกด้วย และช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในแต่ละด้านทั้งด้านการเรียน อารมณ์ สังคม และสุขภาวะให้ดีขึ้น โดยดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

๒.๑ จัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) เป็น ๑๐ นาทีทองของครูและนักเรียน ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น จัดกิจกรรมโฮมรูม (Homercom) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ในช่วง ๑๐ นาทีแรก ก่อนเข้าเรียนเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวันก่อนเริ้มเรียนตอนเช้า รวมทั้งครูประจำวิชาจัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) ก่อนเข้าเรียนในแต่ละชั่วโมงเรียน โดยจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายไม่เพียงแค่ในลักษณะการพูดคุยโต้ตอบกันของครูและนักเรียน ยังสามารถจัดในลักษณะเกม การทำกิจกรรมหรือร่วมกันลงมือปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นประโยชน์เชื่อมโยง
กับการเรียนและชีวิตประจำวัน ประเด็นในการพูดคุยนั้น ทั้งครูและนักเรียนสามารถช่วยกันกำหนดได้กว้างขวางด้วยการมีส่วนร่วม

๒.๒ จัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) ในชั่วโมงแนะแนว ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น และครูแนะแนว สื่อสารทำงานร่วมกัน จัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom ) ในชั่วโมงแนะแนว เพื่อมีเวลาในการจัดกิจกรรมได้มากขึ้นในหัวข้อและประเด็นที่นักเรียนสนใจหรือประเด็นที่สาธารณชนสนใจ เป็นประโยชน์กับนักเรียน รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมแสดงความประสงค์และเป็นผู้ออกแบบ เป็นผู้นำการจัดกิจกรรม หาแนวทาง หาคำตอบสู่การป้องกัน แก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ระหว่างกัน

๒.๓ จัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) แบบ Anywhere Anytime ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น และครูแนะแนว สามารถจัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom)ได้หลากหลายลักษณะ ทั้งในลักษณะเป็นทางการและไม่ทางการ มีความยืดหยุ่น หากนักเรียนมีปัญหาหรือต้องการการปรึกษาแบบเป็นส่วนตัว มีความจำเป็นเร่งด่วนสามารถพูดคุย ปรึกษาครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น และครูแนะแนวได้ทุกที่ ทุกเวลาด้วยความเหมาะสมและปลอดภัย

ประเด็นและหัวข้อที่สำคัญในการจัดกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) แนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม

๑. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักเรียนและครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา / ครูแนะแนว ครูประจำวิชา ในการแลกเปลี่ยนพูดคุยข้อมูลการเรียนในชั้นเรียน หรือเฉพาะรายวิชา ความเป็นอยู่การดำเนินชีวิต เป็นต้น
๒. ข่าวสารประจำวันของโรงเรียน รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ประกาศ แจ้งข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถานศึกษาและระดับชั้น เช่น กำหนดการสอบ การแข่งขันกีฬาสี การจัดนิทรรศการการจัดพิธีไหว้ครู ผลการประกวด หรือการเข้าร่วมแข่งขันต่าง ๆ เป็นต้น
๓. การแนะแนว Coaching การศึกษาที่ทันสมัย อาทิ การเทียบโอนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ การศึกษาต่อสายสามัญและสายอาชีพ แหล่งทุนการศึกษา ฯลฯ
๔. การแนะแนว Coaching อาชีพที่สอดคล้องกับโลกอาชีพปัจจุบัน อาทิ การทำแบบวัดแววความสนใจความถนัดด้านอาชีพในปัจจุบันและแนวโน้มอาชีพในอนาคตการสร้างรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn) ฯลๆ

๕. แนะแนว Coaching ด้านส่วนตัวและสังคมรวมทั้งเรื่องการดำเนินชีวิต เช่น สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น การทำงานกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์การคบเพื่อน การคบเพื่อนต่างเพศที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงจากภัยทางสังคมอาชญากรรม ปัญหาการคุกคามทางเพศ ภัยแอบแฝงจากอินเทอร์เน็ต และปัญหาสารเสพติด เป็นต้น
๖. การค้นหาตนเอง ตั้งเป้าหมายของชีวิต เส้นทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ
๗. ให้นักเรียนบันทึกความดี ความภูมิใจของตนเอง
๘. การชมเชยนักเรียนที่ทำความดี หรือมีความสามารถในด้านต่าง ๆ
๙. การฝึกลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เช่น ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย
ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
๑๐. วิธีการบริหารจัดการอารมณ์และความเครียด (Stress Management)
๑๑. การจัดการและแบ่งสรรเวลา ความตรงต่อเวลา
๑๒. การอบรมคุณธรรม จริยธรรม เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคี การเสียสละ ความซื่อสัตย์การให้อภัย เป็นต้น
๑๓. เพื่อนช่วยเพื่อนในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ติวเพื่อน “ฉันสอบผ่าน เพื่อนสอบผ่าน เราสอบผ่าน”

๑๔. การนำข่าวจากสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ Website ต่าง ๆ Social Media มาสะท้อนคิดอย่างสร้างสรรค์
๑๕. กิจกรรมตามความสนใจ ความจำเป็นและสอดคล้องกับประโยชน์ของนักเรียน ฯลฯ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖

ขอบคุณที่มา แนวปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม :: แนะแนว สพฐ.

Related Articles

Back to top button
error: Content is protected !!