เอกสารวิจัยในชั้นเรียน

แจกฟรี วิจัยในชั้นเรียน150 เรื่อง แก้ไขได้ ไฟล์ Word

แจกฟรี วิจัยในชั้นเรียน150 เรื่อง แก้ไขได้ ไฟล์ Word สามารถอ่านรายละเอียด และดาวน์โหลดได้ที่ด้านล่างเลยครับ

มาแล้ว คุณครูต้องมี รวมงานวิจัยในชั้นเรียน ดาวน์โหลดฟรี มากกว่า 150 เรื่อง ไฟล์เวิร์ด *.doc แก้ไขได้ ดาวน์โหลดฟรีในลิงก์ด้านล่าง

ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน

ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน 150 เรื่อง
ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน 150 เรื่อง

ความหมายการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียน  หากแปลความหมายโดยการแยกคำหลัก ๆ  จะเห็นได้ว่าประกอบด้วยคำว่า  “การวิจัย”  และ “ชั้นเรียน” ซึ่งการวิจัยนั้นในบทที่  1 ได้อธิบายความหมาย  ความสำคัญ และหลักการไว้แล้ว  ส่วนคำว่าชั้นเรียน  หากสื่อตามความหมายที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่าสื่อถึง  ครู  นักเรียน   ดังนั้นหากหมายรวมกันแล้วจะเห็นได้ว่า  การวิจัยในชั้นเรียน  จะหมายถึงการวิจัยที่เกี่ยว ข้องกับครูหรือนักเรียน  นอกจากนี้  ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียนนั้นได้มีนักวิชาการ  ได้นิยามความหมายที่คล้ายคลึงกันดังนี้

การวิจัยในชั้นเรียน  เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมสำหรับแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งเน้นในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีปัญหาการเรียนรู้เป็นจุดเริ่มต้น ผู้สอนหาวิธีการ หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา มีการสังเกตและตรวจสอบผลของการแก้ปัญหา/การพัฒนา แล้วจึงบันทึกและสะท้อนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนานั้นๆ การวิจัยในชั้นเรียนมักเป็นการวิจัยขนาดเล็ก ที่ดำเนินการโดยผู้สอน เป็นกระบวนการที่ผู้สอนสะท้อนการปฏิบัติงาน และเสริมพลังอำนาจให้ครูผู้สอน

การวิจัยในชั้นเรียน  เป็นการแก้ปัญหาและ/หรือพัฒนางานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดยอาศัยกระบวนการวิจัยในการดำเนินงานทั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญที่อยู่ที่การเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับ

การวิจัยในชั้นเรียน  เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าที่สะท้อนตัวครูและกลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติงานในสถานการณ์สังคม
เพื่อค้นหาลักษณะที่เหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภาวะของสังคมหรือสถานการณ์ ด้วยความร่วมมือของเพื่อนครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวข้อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อพินิจพิเคราะห์การกระทำของตนเองและกลุ่ม เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงแบบมีแผน ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียน
จึงไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ปัญหา แต่จะเป็นการตั้งปัญหาจากแรงกระตุ้นของผู้วิจัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
แล้วปฏิบัติสังเกต สะท้อนกลับเป็นวัฏจักรของการวิจัยที่หมุนไปเรื่อย ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสร้างภาพลักษณ์ของการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

หลักการของการวิจัยในชั้นเรียน

หลักการของการวิจัยในชั้นเรียน  นั้นมีหลักการในการวิจัยในชั้นเรียนนั้น  มีหลักและวิธีการที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจดังนี้

สุภัทรา เอื้อวงศ์  กล่าวว่า หลักการสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึง คือ(อ้างถึงในสุภัทรา เอื้อวงศ์  ออนไลน์  2554)
              1. งานวิจัยเป็นงานเสริมงานหลัก โดยงานหลักคือการสอนของผู้สอน เพราะงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะต้องเกิดควบคู่กับการเรียนการสอนเสมอ
              2. เป็นการทำวิจัยตามสภาพความจริง ปัญหาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และต้องการแก้ไข
              3. เป็นการสอดแทรกให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
              4. งานวิจัยที่ทำนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์ ผู้ทำต้องนึกถึงประโยชน์หรือคุณค่าต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
              5. การทำวิจัยเป็นสิ่งที่ตระหนักรู้ โดยอาจารย์ผู้สอนเอง ด้วยความรู้สึกห่วงใยต่อนักศึกษา ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
              6. สิ่งสำคัญประการสุดท้าย และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะสำเร็จมิใช่อยู่ที่ความคิดอย่างเดียว แต่อยู่ที่ การลงมือทำ สุดท้ายอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าขาดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ขาดการดำเนินการโดยใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนของครู อาจารย์เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมขึ้น และเป็นการดำเนินการเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครู อาจารย์อย่างแท้จริง ซึ่งผลก็คือ
คุณภาพของผู้เรียนนั่นเอง

กระบวนการขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน

ระบวนการขั้นตอนในการทำวิจัยในชั้นเรียนในครั้งนี้จะขอนำเสนอใน 3  ส่วน  คือส่วนของขั้นตอนการวิจัย  
ส่วนของการออกแบบการวิจัยและองค์ประกอบของรายงานการวิจัย  และส่วนของการเรียนรายงานการวิจัยเรียนนี้ต่อผลงานของครูผู้สอนและโดยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนในชั้นเรียนสามารถทำได้หลายวิธีการ
ซึ่งทุกวิธีการล้วนอยู่บนพื้นฐานกระบวนการ

ขอบคุณที่มา : ครูอาชีพดอทคอม

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
error: Content is protected !!