
ดาวน์โหลด คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประเมินสมรรถนะ ป.6
ดาวน์โหลด คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประเมินสมรรถนะ ป.6
ดาวน์โหลด คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
(Handbook of a Competency Appraisal for Basic Education students based on the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D.2008))


ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก นอกเหนือจากคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนั้นการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนจึงเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนด
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนไว้ 5 สมรรถนะ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ซึ่งสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการประเมินสมรรถะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรของครูผู้สอนในระดับสถานศึกษา จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือในการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเพื่อใช้ในระดับสถานศึกษาในแต่ละระดับ ช่วงชั้น ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีรูปแบบการประเมินที่หลากหลายวิธีการ
โดยให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการประเมินสมรรถะของผู้เรียน เช่น ให้ครูประเมินผู้เรียน ผู้เรียนประเมินตนเอง และเพื่อนประเมินผู้เรียน เป็นต้น ดังนั้น สำนักทดสอบทางการศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครื่องมือประเมินสมรรถะสำคัญของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยคู่มือและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่ได้พัฒนาขึ้นจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการประเมินและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในทุกระดับต่อไป
ตัวอย่างการพิจารณาสมรรถนะสำคัญที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด
ตัวอย่างวิธีการเลือกใช้ : พิจารณาสมรรถนะที่… > เลือกตัวชี้วัดที่…> เลือกพฤติกรรมบ่งชี้ที่…

ขอบคุณไฟล์ :: สำนักทดสอบทางการศึกษา