แจกฟรี คลังภาพภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาและดาราศาสตร์ กว่า 20 หมวดภาพ
แจกฟรี คลังภาพภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาและดาราศาสตร์ กว่า 20 หมวดภาพ
ภาพถ่ายทางภูมิศาสตาร์
ภาพถ่าย (Photograph) เป็นภาพที่ถ่ายลักษณะทางการภาพของพื้นที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ทะเล เป็นต้น รวมทั้งภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม เป็นต้น ซึ่งภาพถ่ายเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อีกประเภทหนึ่ง
ประเภทของภาพถ่าย
1.ภาพถ่ายทางภูมิศาสตร์ เป็นภาพถ่ายปกติทั่วๆไป แต่ภายในภาพ จะมีข้อมูลลักษณะทางกายของจังหวัดของเราอยู่ เช่น ภูมิประเทศ ภูเขา น้ำตก ชายฝั่งทะเล เขื่อน หรือ ที่ตั้งแหล่งชุมชนของจังหวัดเรา เป็นต้น ภาพถ่ายประเภทนี้จะดูง่ายและเข้าใจง่าย
2.ภาพถ่ายทางอากาศ คือ ภาพที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ โดย ผ่านเลนส์กล้อง และฟิล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน ได้แก่ บอลลูน เครื่องบิน โดรน เป็นต้น รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน จึงสามารถดูเป็นภาพสามมิติ
ซึ่งภาพถ่ายทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ภาพถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็นแนวขอบฟ้า
2. ภาพถ่ายทางอากาศแนวเฉียง เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการ
กำหนดแกนกล้องในลักษณะเฉียง
ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศ
1. ทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับภาพถ่ายที่ถ่ายในระยะเวลาที่แตกต่างกัน
2. การวางแผนพัฒนาการใช้ดิน โดยนำภาพถ่ายทางอากาศไปใช้เพื่อจัดทำแผนที่และจำแนกประเภทการใช้ที่ดินของประเทศ กำหนดโซนพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรม และเขตที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ข้อดี ของภาพถ่ายทางอากาศ คือเราจะได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน สามารถบินถ่ายภาพในช่วงเวลาต่างๆได้ตามที่ต้องการ ได้ข้อมูลและสาระที่ถูกต้องครบถ้วน ประหยัดต้นทุน
และเวลาในการเดินสำรวจในพื้นที่จริง
3.ภาพถ่ายจากดาวเทียม
ดาวเทียม คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก
ภาพจากดาวเทียม จึงเป็นภาพที่ได้มาจากดาวเทียม โดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลและส่งสัญญาณมายังพื้นโลก ซึ่งภาพจากดาวเทียมจะครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้าง และในปัจจุบันภาพจากดาวเทียมมีความคมชัดมาก และนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย
เกร็ดความรู้ ดาวเทียมธีออส (THEOS) มาจาก Thailand Earth Observation Systems หมายถึงระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมของประเทศไทย เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศ
ประโยชน์ของภาพถ่ายจากดาวเทียม
1. ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ใช้ในการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าสำรวจพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ
2. ด้านอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการติดตามลักษณะอากาศในช่วง
เวลาตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การเกิดฝนฟ้าคะนอง การเคลื่อนตัวของพายุ การเกิดน้ำท่วม เป็นต้น ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความถูกต้องแม่นยำและทันเหตุการณ์
คลังภาพภูมิศาสตร์
ขอขอบคุณ : เพจมิตรเอิร์ธ – mitrearth https://th-th.facebook.com/mitrearth/