หลักสูตร

การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีลักษณะเป็นพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนแต่ละคน ตามบริบทของเนื้อหาสาระในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดแต่ละตัวนั้นมีลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกใน
3 ลักษณะ คือ

1) พฤติกรรมด้านความรู้ความคิด (Knowedge: K) หรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็น
พฤติกรรมที่แสดงออกสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางสติปัญญาหรือพฤติกรรมผ่านกระบวนการทางสมองซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ทางสติปัญญาของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956) 2) พฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ (Process Skill: P) หรือด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความแคล่วคล่อง หรือเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของแครธโทล และคณะ (Krathwohl, et al, 1954) 3) พฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพีงประสงค์ (Attribute: A) หรือจิตพิสัย (Effective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะนิสัย ทัศนคติ หรือค่านิยมเฉพาะบุคคลของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเดฟ (Dave’s,1975)

ดังนั้น ครูผู้สอนจะต้องทำการวิเคราะห์ มาตรฐาน การเรียนรู้แ ละตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ว่าเป็นพฤติกรรมมีลักษณใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนหรือออกแบบการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของตัวชี้วัดต่อไป โดยมีตัวอย่าง การวิเคราะห์ มาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดดังต่อไปนี้

การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

ขอบคุณที่มา : การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (chan1.net)

Back to top button
error: Content is protected !!