แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
ความหมายและกระบวนการจัดการเรียนรู้
1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการสอน โดยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงเหมาะสมกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบหรือการกระทำด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง ส่งเสริมการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น โดยครูคอยให้คำแนะนำและดูแลนักเรียน
1.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
1) จัดเนื้อหาและกิจกรรมสอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน
2) จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกเวลาทุกสถานที่ ประสานกับผู้ปกครองเพื่อพัฒนาผู้เรียน
3) ฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
4) จัดให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ปฏิบัติจริง คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา
5) จัดการเรียนรู้ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม
6) จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้
สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
2.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2.2 ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
2.3 วิเคราะห์หลักสูตร
2.4 ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
2.5 ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล
2.6 ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ
2.7 ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
2.8 ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
2.9 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
2.10 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
หลักในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
3.1 ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
3.2 ใช้วิธีการสอนอย่างไร
3.3 สอนแล้วผลเป็นอย่างไร
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
4.1 สาระสำคัญ
4.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
4.3 เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
4.4 กิจกรรมการเรียนรู้
4.5 การวัดและประเมินผล (มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน)
4.6 สื่อและแหล่งเรียนรู้
47 ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ผู้นิเทศ
4.8 บันทึกผลหลังสอน
ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
5.1 ปก
5.2 ใบรองปก
5.3 คำนำ
5.4 สารบัญ
5.5 มาตรฐานการเรียนรู้
5.6 ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
5.7 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้รายภาค/รายปี
5.8 คำอธิบายรายวิชา
5.9 หน่วยการเรียนรู้
5.10 แผนการจัดการเรียนรู้
5.11 สื่อ/นวัตกรรม
5.12 บรรณานุกรม
แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
6.1 สาระสำคัญ
สาระสำคัญ หมายถึง ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาสาระ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆของเนื้อหาสาระของ แผนการสอน นั้น
วิธีเขียน แผนการสอน
1) เขียนอย่างสรุป กระชับ
2) ใช้คำที่มีความหมายเจาะจง แน่นอน เช่น “เป็น” “ประกอบ” “หมายถึง” “คือ”
3) เป็นการขยายชื่อเรื่อง
4) เขียนเป็นความเรียงหรือเป็นข้อก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมเป็นความเรียง
5) เริ่มด้วยสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของเนื้อหาก่อนแล้วตามด้วยรายละเอียดที่สำคัญ
เช่น เขียนชื่อเรื่อง ตามด้วย เป็น /หมายถึง/คือ แล้วตามด้วย ข้อความขยายชื่อเรื่อง
6.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการบอกให้ทราบว่าเมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วผู้เรียนจะทำอะไรได้บ้าง
วิธีเขียน
1) เขียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
2) เขียนให้สังเกตได้ วัดได้
3) การเขียนมีองค์ประกอบ 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นพฤติกรรม (ใช้คำกริยา)
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขหรือสถานการณ์
ส่วนที่ 3 เกณฑ์ (ความสามารถขั้นต่ำในการบรรลุจุดประสงค์ )
6.3 เนื้อหาสาระ/สาระการเรียนรู้
1) เขียนให้มีความถูกต้อง
2) เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
3) เขียนเนื้อหาใหญ่ เนื้อหาย่อยและมีรายละเอียดของเนื้อหา
6.4 กิจกรรมการเรียนรู้
1) กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น
• กิจกรรมการซักถาม คือการตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ อาจซักถามเป็นกลุ่มหรือในชั้นเรียน เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน หรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ
• กิจกรรมการอภิปราย หัวข้อการอภิปรายอาจเป็นข้อความหรือเป็นคำถามก็ได้ (ส่วนใหญ่นิยมหัวข้อที่เป็นคำถาม) ผู้อภิปรายแต่ละคนจะแสดงเหตุผลหรืออธิบายเพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งหัวข้อที่กำหนดโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย และไม่มีการลงมติ อาจจะเป็นการอภิปรายปากเปล่าในกลุ่มหรือในชั้นเรียนและอาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย
• กิจกรรมการแสดงความคิดเห็น คือการตั้งข้อสังเกต หรือให้ข้อสรุป ตามความติดเห็นหรือตามเหตุผลของแต่ละบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องสนับสนุนหรือคัดค้าน อาจแสดงความเห็นโดยพูด หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนจะมีลักษณะทำนองเดียวกับการตอบคำถามที่ต้องการให้แสดงความเห็นหรือเหตุผลประกอบคำตอบในคำถามประเภทให้ตอบเสรี
• กิจกรรมการค้นหา คือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ข้อมูลสาระสนเทศ หรือทักษะกระบวนการ(การกระทำหลายการกระทำ ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นชุดเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง) ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวมหรือสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การบันทึก วิเคราะห์ สังเคราะห์ การทดลอง การตรวจสอบกฎหรือหลักการทางเศรษฐ์ศาสตร์ การหาคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
2) เทคนิคการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
• เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำคัญ
• จัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
• ใช้กระบวนการเรียนที่เหมาะสม
6.5 การวัดผลและประเมินผล
1) เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
2) มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน เช่น
• วิธีวัด
• เครื่องมือวัด
• เกณฑ์การวัดที่ชัดเจน
6.6 สื่อและแหล่งเรียนรู้
1) สื่อเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา/ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนและผู้เรียน
2) เรียงลำดับให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
3) ระบุสื่อ/ แหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
6.7 การวัดผลและประเมินผล
1) เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
2) มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน เช่น
• วิธีวัด
• เครื่องมือวัด
• เกณฑ์การวัด
6.8 บันทึกผลหลังสอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สังเกตได้ดังนี้
7.1 มีองค์ประกอบครบถ้วน
7.2 เขียนแต่ละองค์ประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน
7.3 องค์ประกอบของแผนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
7.4 นำกระบวนการสอนมาใช้อย่างเหมาะสม
7.5 เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้แล้วผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
7.6 บันทึกผลหลังสอนได้ชัดเจน
เพียงแค่นี้ ก็สามารถทำ แผนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างรูปแบบแผนการเรียนรู้
หน่วยการสอนที่………………………………………………………………………………………
หน่วยย่อยที่…………………………………………………………………………………………..
เรื่อง…………………………………………………………..………เวลา…………………….คาบ
1. สาระสำคัญ
………………………………………………………………………………………………………
2. จุดประสงค์
2.1 จุดประสงค์ปลายทาง
………………………………………………………………………………………………………..
2.2 จุดประสงค์นำทาง
…………………………………………………………………………………………………………
3. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
4. กิจกรรม
…………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
6. การวัดผลและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………….
7. กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม หรือภาคผนวก
…………………………………………………………………………………………………………..
เศวต ไชยโสภาพ (2545 : 42) ได้ศึกษาค้นคว้าการแบ่งรูปแบบของแผนการเรียนรู้ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. แบบบรรยาย เป็นแบบฟอร์มที่คณะกรรมการข้าราชการครู เสนอแนะไว้ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง………………………………………………………………….………………เวลา……….คาบ
วิชา………………………………………………..ชั้น…………………………ภาคเรียนที่…………….
สอนวันที่………….เดือน…………………พ.ศ………….ชื่อผู้สอน…………………………………
1. สาระสำคัญ
…………………………………………………………………………………………………………
2. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 จุดประสงค์ปลายทาง
…………….………………………………………………………………………………………………
3.2 จุดประสงค์นำทาง (กระบวนการ
……………………………………………………………………………………..………………………….
………………………………………………………………………………………………………….
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วิธีการวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
6.2 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
6.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
7. กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)
…………………………………………………………………………………………………………
8. ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(ตรวจสอบ / นิเทศ / เสนอแนะ / รับรอง)
…………………………………………………………………………………….……………………
ลงชื่อ……………………………………………….
(…………………………………………….)
ตำแหน่ง……………………………………………
วันที่………เดือน…………..พ.ศ…….
บันทึกหลังสอน
1. ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
2. ปัญหา / อุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………
3. ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ………………………………………..
(………………………………………)
ตำแหน่ง…………………………………….
วันที่……….เดือน……………พ.ศ…….
2. แผนการเรียนรู้แบบตาราง ตัวอย่าง เช่น
แผนการเรียนรู้ที่……
เรื่อง……………………………………………………………..…..……………..เวลา…………..คาบ
วิชา……………………………………………..ชั้น……………….…………….ภาคเรียนที่…………..
สอนวันที่…………..เดือน………………………….พ.ศ…………ชื่อผู้สอน…………….…………….
สาระสำคัญ | จุดประสงค์ปลายทาง/นำทาง | เนื้อหา | กิจกรรมการเรียน | สื่อ / อุปกรณ์ | การวัดผล |
กิจกรรมเสนอแนะ…………………………………………………………………………………..…
……………………………………………………………………………………………………….…
………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….…
………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….…
3. แผนการเรียนรู้แบบกึ่งตาราง ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่…..
เรื่อง……………………………………………………………………………เวลา……………….คาบ
วิชา………………………………………………..ชั้น………………….………..ภาคเรียนที่…………
สอนวันที่……..เดือน…………………..พ.ศ………..ชื่อผู้สอน……………………..………………….
สาระสำคัญ………………………………………………………………………………………………
เนื้อหา……………………………………………………………………………………………………
จุดประสงค์ปลายทาง……………………………………………………………………………………
จุดประสงค์นำทาง | กิจกรรมการเรียนการสอน | สื่อการเรียนการสอน | การวัดผล / ประเมินผล |
กิจกรรมเสนอแนะ……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….………………….…………………………………………………………………….…………………………………….………………………………………………….……………………………………………………….
รูปแบบของแผนการสอนทั้ง 3 แบบ ได้แก่ แบบไม่ใช้ตาราง แบบตาราง และแบบกึ่งตาราง สามารถยึดหยุ่นเรื่อง การแบ่งช่องและเรียกชื่อ ดังนี้
1. หัวเรื่อง
2. จำนวนคาบ / ชั่วโมงของแต่ละหัวข้อ
3. สาระสำคัญโดยสรุป
4. จุดประสงค์การเรียนรู้ (กระบวนการที่ใช้)
5. กิจกรรมการเรียนการสอน
6. การใช้สื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน
7. การวัดผลประเมินผล
ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้คือ การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้าคล้ายกับบันทึกการสอนที่ฝึกทำในวิชาครู โดยมีวัตถุประสงค์ให้ครูผู้สอนได้ออกแบบและเตรียมการสอนล่วงหน้าให้เห็นรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละหัวข้อย่อยของเนื้อหาวิชาหรือสำหรับการสอนแต่ละครั้ง ซึ่งจะต่างจากเอกสารแนวการสอนตรงที่แผนการเรียนรู้มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเฉพาะเจาะจงว่า แบ่งย่อยตามเนื้อหาย่อยๆ หรือจุดประสงค์ย่อยๆ ได้มากกว่าลักษณะแสดงลักษณะการสอนที่จัดสรรแล้วให้ตรงกับสภาพแวดล้อม ปัญหาความต้องการและปัจจัยอำนวยความสะดวกของโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดเตรียมการสอน โครงการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามโครงสร้างของรูปแบบแผนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
การเขียนแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้เสนอแนะไว้ว่า ควรให้เป็นระบบ ซึ่งเริ่มจากศึกษาหลักสูตร เอกสารที่เกี่ยวข้องสภาพแวดล้อม และตัวผู้เรียนจึงดำเนินการเขียนแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอน เมื่อเสร็จจากการนำแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอนแล้ว ควรสรุปผลการใช้และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาแผนการเรียนรู้ต่อไป ตามแผนการเรียนรู้เชิงระบบ ดังนี้ (รุจิร์ ภู่สาระ. 2545 : 147)
แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
ภาพที่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ
แนวทางการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ที่เขียนเสร็จตามแนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้แล้ว ผู้เขียนควรตรวจสอบย้อนกลับไปดูอีกครั้งว่าแผนที่เขียนขึ้นนั้นยังมีข้อใดที่ยังบกพร่อง ควรปรับปรุง โดยมีหลักการ ดังนี้ (สุวิทย์ มูลคำ และอรทัยมูลคำ. 2545 : 108-116)
1. จุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์ที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ ความครอบคลุม หมายถึง ความครอบคลุมมวลพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ เพราะทั้ง 3 ด้านเป็นองค์ประกอบเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษา อย่างไรก็ตามในแผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนหนึ่งๆ อาจไม่จำเป็นครบองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลา เนื้อหา และวัยของผู้เรียน
ความชัดเจน หมายถึง จุดประสงค์นั้นมีความเป็นพฤติกรรมมากพอที่จะตรวจสอบว่ามีการบรรลุแล้วหรือไม่ เช่น ถ้าเขียนเพื่อให้ “รู้” กับเพื่อให้ “ตอบได้” คำว่า “รู้”เป็นความคิดรวบยอดมากกว่าพฤติกรรม ถือว่าไม่ชัดเจน แต่คำว่า “ตอบ” มีลักษณะเป็นพฤติกรรมมากขึ้นโดยผู้เรียนอาจจะพูดตอบ หรือ เขียนตอบก็ได้
ความเหมาะสม หมายถึง จุดประสงค์นั้นไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงเวลา เนื้อหา และวัยของผู้เรียน
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาในแผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนที่ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ ความถูกต้อง ความครอบคลุม และความชัดเจน ดังนี้
2.1 ความถูกต้อง หมายถึง เนื้อหาสาระตรงกับหลักวิชา โดยทั้งนี้อาจยึดตามคู่มือวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3
2.2 ความครอบคลุม หมายถึง ปริมาณเนื้อหาตามหัวข้อนั้นมีมากพอที่จะก่อให้เกิดความคิดรวบยอดได้หรือไม่
2.3 ความชัดเจน หมายถึง การที่เนื้อหามีแบบแผนของการนำเสนอสาระที่ไม่สับสนเข้าใจง่าย
3. กิจกรรมการเรียนการสอน (เน้นผู้เรียน)
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติน่าสนใจความเหมาะสมและความริเริ่ม ดังนี้
3.1 ความน่าสนใจ หมายถึง กิจกรรมที่นำมาใช้ชวนให้น่าติดตามไม่เบื่อหน่าย
3.2 ความเหมาะสม หมายถึง กิจกรรมที่นำมาใช้จะต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ได้จริง
3.3 ความคิดริเริ่ม หมายถึง การที่นำเอากิจกรรมใหม่ๆ ที่ท้าทายมาสอดแทรกช่วยให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติของความน่าสนใจ ความประหยัดและการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว ดังนี้
4.1 ความน่าสนใจ หมายถึง สื่อนั้นช่วยให้น่าติดตาม ไม่น่าเบื่อ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว หมายถึง สื่อนั้นจะต้องใช้ได้ผลในการทำให้ผู้เรียนรู้ได้จริง และตรงกับเนื้อหาที่ใช้เรียน
4.2 ความประหยัด หมายถึง สื่อที่ใช้นั้นราคาแพง อยู่ในระดับสถานศึกษารับผิดชอบได้
5. การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้ที่ดีควรมีคุณสมบัติของความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้ และความสามารถประยุกต์ได้ ดังนี้
5.1 ความเที่ยงตรงหมายถึง เครื่องมือ วิธีการที่ใช้ในการวัดผลของแต่ละแผนนั้นๆ ต้องสอดคล้องและตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้นั้นๆ และรวมทั้งตรงตามเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน
5.2 ความเชื่อถือได้ หมายถึง เครื่องมือ วิธีการที่ใช้ในการวัดผลของแต่ละแผนนั้นๆ ต้องสอดคล้อง และตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้นั้นๆ และรวมทั้งตรงตามเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน
5.3 ความสามารถประยุกต์ได้ หมายถึง การที่ประเมินที่ระบุไว้สามารถประเมินได้จริงมิใช่แต่ระบุไว้เฉย ๆ
6. ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ของแผนการเรียนรู้
ความสอดคล้องของแผนการเรียนรู้ ให้พิจารณาความสอดคล้องของเรื่องจุดประสงค์การเรียนการสอน เนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน ประเมินผลตลอดทั้งแผนนั้นๆ
แนวทางการประเมินแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
หลังจากครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ได้เขียนแผนการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อยแล้วควรมีการตรวจสอบแผนการเรียนรู้ และประเมินแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้เขียนแผนการเรียนรู้นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการเรียนรู้ตามแนวทางการตรวจสอบคุณภาพของแผนการเรียนรู้เพื่อให้ได้แผนการเรียนรู้มีคุณภาพ อันส่งผลถึงประสิทธิภาพการสอนจากการใช้แผนการเรียนรู้นั้น ๆ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546 : 98-101)
ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
คำชี้แจง
1.ให้ท่านประเมินแผนการเรียนรู้ที่เขียนขึ้นมาโดยตัวท่านเองว่าในรายการประเมินอยู่ในระดับใด โดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่กำหนดให้ และการให้นำหนักของคะแนนตามความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง ดีมาก
4 หมายถึง ดี
3 หมายถึง พอใช้
2 หมายถึง ปรับปรุง
1 หมายถึง ใช้ไม่ได้
การแปลผลของการประเมินผล แผนการเรียนรู้
80 – 100 อยู่ในระดับดีมาก
60 – 79 อยู่ในระดับดี
40 – 59 อยู่ในระดับพอใช้
20 – 39 อยู่ในระดับปรับปรุง
ต่ำกว่า 20 อยู่ในระดับใช้ไม่ได้
ตารางที่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
รายการประเมิน | ระดับ | หมายเหตุ | ||||
ดีมาก | ดี | พอใช้ | ปรับปรุง | ใช้ไม่ได้ | ||
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ความครอบคลุมและชัดเจนความเหมาะสม2. เนื้อหาสาระความถูกต้องและชัดเจนความครอบคลุม3. กิจกรรมการเรียนการสอนความน่าสนใจความเหมาะสมความริเริ่ม4. สื่อการเรียนการสอนความน่าสนใจ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วความประหยัด5. ตรงกับเนื้อหา6. การประเมินผลความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้ความสามารถประยุกต์ได้7. ความสอดคล้องจุดประสงค์กับกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมการเรียนการสอนกับสื่อการเรียนการสอนจุดประสงค์การเรียนรู้ กับการวัดและประเมินผลเนื้อหากับการวัดและประเมินผล | ||||||
รวม |
แนวทางการรวบรวมและสรุปรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้การรวบรวมแผนการเรียนรู้เป็นรูปเล่ม
แผนการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการสอนตลอดปีการศึกษานั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษาแล้วควรจัดเก็บรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นรูปเล่มเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแผนการที่มีที่มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งการรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรูปเล่มนั้น ควรประกอบด้วยดังนี้
ส่วนที่ 1 คำอธิบายรายวิชา และผลการวิเคราะห์หลักสูตร โดยจำแนกให้เห็นได้ว่าแยกแยะจุดประสงค์ เนื้อหา และเวลาที่ใช้สอนแต่ละเนื้อหาอย่างไร
ส่วนที่ 2 ตารางสอนของครูผู้ทำการสอน
ส่วนที่ 3 แผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนทั้งหมด
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก ประกอบด้วยเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการสอนแต่ละครั้ง
การจัดทำรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อสิ้นปีการศึกษา ครูผู้สอนควรมีการสรุปผลการสอนของตนเอง โดยสรุปผลการสอนในรูปของเอกสาน “รายงานผลการใช้แผนการเรียนรู้” เพื่อที่จะเป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ในเอกสารการรายงานผลการเรียนรู้ควรประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เกริ่นนำ จะประกอบด้วย หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา จุดหมายหลักการสอน แนวการนำหลักสูตรไปใช้กับผู้เรียน
ตอนที่ 2 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)โครงสร้าง เนื้อหา จุดหมาย คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอนกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือวัดผลอื่นๆ
ตอนที่ 3 ผลการสอน เป็นสิ่งที่ได้จากการใช้แผนการเรียนรู้ที่ผลการสอนอาจจะเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งภาคความรู้ ภาคปฏิบัติ ความสามารถทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในสมรรถภาพอื่น ๆ ระหว่างเรียน ปลายภาค หรือปลายปี เป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รายห้องเรียน หรือรายชั้นเรียน เป็นต้น
ตอนที่ 4 สรุปผลการเรียน อภิปรายผล และข้อเสนอแนะการจัดทำแผนการเรียนรู้
การใช้แผนการเรียนรู้ แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้
แผนการสอนที่ดีควรยึดหลักการเขียน ดังนี้ ภาษาเข้าใจง่าย และสามารถสื่อได้ตรงกันไม่ว่าใครใช้สอนก็เข้าใจตรงกันชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2537 : 201 – 208) ได้ให้ทัศนะว่า การเขียนแผนที่ดีนั้น ควรเขียนครอบคลุมเนื้อหา และต้องไม่เขียนพฤติกรรมของครูลงในแผนการสอน พึงระลึกเสมอว่านักเรียนเป็นผู้แสดง ครูเป็นเพียงผู้แนะนำ แบบเรียนหรือแผนใดๆ มิใช่คัมภีร์หรือกฎหมายที่ครูต้องปฏิบัติตามไปเสียหมด จะต้องนำไปพิจารณาถึงความเหมาะสม ปรับใช้ให้เหมาะสมแก่บุคคล โอกาสและสถานที่จึงนับว่าเป็นครูที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
การทำแผนการสอน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะและรูปแบบใด จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เป็นสำคัญ
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ต้องชัดเจน
2. กิจกรรมควรนำไปสู่ผลการเรียนตามจุดประสงค์ได้จริง
3. ระบุพฤติกรรมนักเรียนและพฤติกรรมครูผู้สอนอย่างชัดเจน ในการอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอนจะต้องมีคุณค่า มีความหลากหลาย ทั้งของจริง ภาพ แผนภูมิ เอกสาร ใบความรู้
5. วิธีการวัดผลควรชัดเจนตามจุดประสงค์การเรียนรู้
แผนการสอนที่มีคุณภาพ จะแสดงถึงการเตรียมความพร้อมของครูในการพัฒนาอาชีพอีกด้วย สิ่งสำคัญควรเริ่มลงมือศึกษาและทำแผนการสอนตลอดทั้งนำไปใช้แล้วบันทึกผลลงด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อตัวนักเรียนอย่างสูงสุด
แนวทางการจัดทำแผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้ ขอบคุณที่มา https://www.learneducation.co.th/