แจกไฟล์

ดาวน์โหลด คู่มือพิธีการทางลูกเสือ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ดาวน์โหลด คู่มือพิธีการทางลูกเสือ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

แจกไฟล์ คู่มือพิธีการทางลูกเสือ พิธีการลูกเสือสำรอง สามัญ พิธีการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ พิธีการลูกเสือวิสามัญ โดยสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่าง

ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๙ได้กำหนดพิธีการทางลูกเสือไว้ทุกประเภท ตั้งแต่ข้อ ๒๘๐ ถึงข้อ ๓๐๐ โดยเรียงลำดับตามประเภทลูกเสือตั้งแต่พิธีลูกเสือสำรอง พิธีลูกเสือสามัญ พิธีลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และพิธีลูกเสือวิสามัญ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติพิธีการทางลูกเสือตลอดมา

คู่มือพิธีการทางลูกเสือเล่มนี้ ได้จัดเรียงลำดับพิธีการทางลูกเสือ โดยยีดกิจกรรมที่เข้าพวกเป็นกลุ่มในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ต่อเนื่องกันให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มองเห็นความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องของพิธีการของลูกเสือแต่ละประเภทตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์ของพิธีการแต่ละประเภทซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และผู้สนใจศึกษาคันคว้าทางด้านพิธีการลูกเสือ เริ่มตั้งแต่การทำแกรนด์ฮาวล์ของลูกเสือสำรอง พิธีเปิด – พิธีปิดประชุมกอง พิธีเข้าประจำกอง พิธีประดับดาวลูกเสือสำรอง พิธีส่งและรับตัวลูกเสือ และพิธีมอบเครื่องหมายวูแบดจ์ ๒ ท่อน ๓ ท่อน และ ๔ ท่อน โดยนำข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาเป็นแนวทาง และได้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากคู่มือ และเอกสารอื่นเพื่อนำมาอ้างอิงจากแหล่งต่างๆ เช่น สารานุกรมลูกเสือ คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือของคณะอนุกรรมการฝ่ายฝึกอบรม สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติทุกประเภท คู่มือการฝึกระเบียบแถวลูกเสือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ

นอกจากนั้น ได้เพิ่มเติมเนื้อหา เสนอแนะแนวทาง วิธีการปฏิ บัติ ที่มิได้ระบุไว้ในข้อบังคับฯ และคู่มือการฝึกอบรมฯ ดังกล่าว เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนและความสะดวกในการปฏิบัติ สอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษา และบริบทของการจัดกิจกรรมลูกเสือในปัจจุบัน ตลอดจนการใช้คำศัพท์ทางวิชาการตามคำแนะนำการเขียนคำทับศัพห์จากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และการอ้างอิงจากเอกสารต้นฉบับ อย่างไรก็ตาม ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากผู้ที่นำเอกสารเล่มนี้ไปใช้ หากพบข้อบกพร่อง หรือ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมประการใด ขอความกรุณาแจ้งให้สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ได้ทราบเพื่อจะได้นำไปปรับปรุง แก้ไข ให้มีความถูกต้อง ให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้น

ตัวอย่างไฟล์

ดาวน์โหลด คู่มือพิธีการทางลูกเสือ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

พิธีการลูกเสือคืออะไร

พิธีการทางลูกเสือเป็นกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกระทำอย่างเป็นกระบวนการ ทั้งในภาคความรู้และภาคปฏิบัติ การใช้ชีวิตกลางแจ้ง โดยมีคำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ และพิธีการเป็นยุทธศาสตร์ของกิจกรรมทั้งปวงส่งผลดีต่อลูกเสือนานาประการ สร้างวินัย ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และบุคลากร จากทุกหน่วยงาน เกิดความภาคภูมิใจในความก้าวหน้า เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้รักและศรัทธา ในกระบวนการลูกเสือ เป็นลูกเสือที่สมบูรณ์ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สั้นๆ ง่ายๆ และจริงใจ ส่งผลให้ลูกเสือเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ความหมาย
พิธีการของลูกเสือ หมายถึง แนวทางสำหรับการปฏิบัติที่ได้กำหนดให้มีขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาร่วมในหมู่หรือคณะได้ปฏิบัติตามทุกคน

พิธีการลูกเสือวิสามัญ มีอะไรบ้าง พิธีการของลูกเสือแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ

๑. พิธีการปกติ คือ พิธีการที่เป็นแบบธรรมเนียมที่ลูกเสือ ได้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำทุกครั้งที่มีการฝึกอบรมและเป็นการปฏิบัติในทำนองเดียวกัน เช่น การทำแกรนด์ฮาวส์ การเชิญธงชาติ การเปิดประชุมกองการปิดประชุมกอง การแสดงรหัส ฯลฯ

๒. พิธีการพิเศษ คือ พิธีที่ไม่ได้มีการปฏิบัติเป็นประจำแต่อาจปฏิบัติในโอกาสพิเศษเป็นครั้งคราวเมื่อถึงกำหนดเวลา เช่น พิธีเข้าประจำกอง พิธีประดับดาวของลูกเสือสำรอง พิธีส่งลูกเสือ พิธีมอบเครื่องหมายวูดแบดจ์ ฯลฯ

ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีการทางลูกเสือ มีดังต่อไปนี้ คือ
๑. ทำให้มีระเบียบวินัยในตัวเอง
๒. ทำให้เกิดความรู้สึกและเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกัน
๓. ก่อให้เกิดความรักและสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ
๔. มีความเคารพ และให้เกียรติในความเป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง ตามอาวุโส
๕. เป็นการสืบทอด รักษาธรรมเนียมปฏิบัติทางพิธีการที่ดี มีการส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง
๖. ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจกับผู้ที่ได้ปฏิบัติพิธีการนั้นๆ
๗. ลูกเสือได้มีโอกาสระลึกถึง และรักษาคำมั่นสัญญา (คำปฏิญาณ) กฎ คติพจน์ อยู่เสมอ
๘. ทำให้เกิดความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ระหว่างลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และผู้ปกครอง
๙. ความก้าวหน้าที่เกิดจากพิธีการต่างๆ เป็นแรงบันดาลใจให้ลูกเสือ มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม
๑๐. คติพจน์ ที่ลูกเสือได้พบเห็นอยู่ในพิธีการลูกเสือ เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ลูกเสือทุกประเภทได้ระลึกถึงหน้าที่อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาตนเองสู่สังคมตามวัย ตั้งแต่ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จนถึง ลูกเสือวิสามัญ

๑. แกรนด์ฮาวล์ (Grand Howl)
๒. พิธีประชุมกองลูกเสือสำรอง

๒.๑ พิธีเปิดประชุมกองลูกเสือสำรอง
๒.๒ พิธีปิดประชุมกองลูกเสือสำรอง

๓. พิธีประชุมกองลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ

๓.๑ พิธีเปิดกองลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ
๓.๒ พิธีปิดกองลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ

๔. พิธีเข้าประจำกองลูกเสือ

๔.๑ พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสำรอง
๔.๒ พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญ
๔.๓ พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
๔.๔ พิธีสำรวจตัวเอง และพิธีเข้าประจำกองลูกเสือวิสามัญ

๕. พิธีประดับดาวลูกเสือสำรอง

๕.๑ พิธีประดับดาวดวงที่ ๑
๕.๒ พิธีประดับดาวดวงที่ ๒
๕.๓ พิธีประดับดาวดวงที่ ๓

๖. พิธีส่งลูกเสือ

๖.๑ พิธีส่งลูกเสือสำรองไปเป็นลูกเสือสามัญ
๖.๒ พิธีส่งลูกเสือสามัญไปเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
๖.๓ พิธีส่งลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ไปเป็นเตรียมลูกเสือวิสามัญ

๗. พิธีมอบเครื่องหมายวูดแบดจ์
๗.๑ เครื่องหมายวูดแบดจ์ ๒ ท่อน
๗.๒ เครื่องหมายวูดแบดจ์ 3 ท่อน หรือ ๔ ท่อน

  • ตัวอย่างคำกล่าวของประธานในการมอบพิธีมอบเครื่องหมายวูดแบดจ์ ๒ ท่อน
  • ตัวอย่างคำโอวาทแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ๓ ท่อน ๔ ท่อน…
ดาวน์โหลด คู่มือพิธีการทางลูกเสือ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ดาวน์โหลด คู่มือพิธีการทางลูกเสือ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ท่าถวายราชสดุดี ลูกเสือชายจะนั่งอย่างไร

ลูกเสือถอดหมวกด้วยมือขวามาตั้งไว้บนแขนซ้าย ซึ่งยื่นตั้งฉากกับลำตัว หันหน้าเสือไปข้างหน้า ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ครึ่งก้าว คุกเข่าลงนั่งบนส้นเท้าขวา หัวเข่า ถึงพื้น มือขวาแบคว่ำตั้งลงบน เข่าขวา วางแขนซ้ายท่อนล่างพาดลงบนเข่าซ้าย ให้ตั้งฉากกับเข่าซ้าย หัวหน้าเสือไปทางขวามือก้มศีรษะลงด้วยความเคารพ 
(ข้อมูล : สโมสรลูกเสือธนบุรี,คู่มือลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ : พิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๒๑)

ขอบคุณที่มา :: สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน (moe.go.th)

Related Articles

Back to top button
error: Content is protected !!