แจกไฟล์
แจกไฟล์ ตารางวิเคราะห์การออกแบบการสร้างแบบทดสอบ การจัดทำข้อสอบจากการวางแผนการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint)
แจกไฟล์ ตารางวิเคราะห์การออกแบบการสร้างแบบทดสอบ การจัดทำข้อสอบจากการวางแผนการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint)
คำถามจำแนกตามพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย
- คำถามที่มุ่งพฤติกรรมการด้านความรู้ (Knowledge) เป็นคำถามที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในแต่ละสาระ
- คำถามที่มุ่งประเมินพฤติกรรมด้านความเข้าใจ (Comprehension) เป็นคำถามที่มุ่งให้ผู้เรียนสร้างความหมายต่อสิ่งที่ศึกษาให้ลุ่มลึกขึ้นด้วยการแปลความตีความและขยายความ
- คำถามมีมุ่งประเมินพฤติกรรมด้านการประยุกต์ใช้ (Application) การประยุกต์ใช้คือการให้ผู้เรียนนำความรู้มโนทัศน์แนวความคิดหรือหลักการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่ได้ศึกษาไปแล้วมาใช้ในบริบทหรือสถานการณ์ใหม่
- คำถามที่มุ่งประเมินพฤติกรรมด้านการวิเคราะห์ (Analysis) มุ่งประเมินพฤติกรรมการจำแนกองค์ประกอบข้อมูลหรือเหตุการณ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันในด้านโครงสร้างความเป็นเหตุเป็นผลความเหมือนและความต่างเป็นต้น
- คำถามที่มุ่งประเมินพฤติกรรมด้านการสังเคราะห์ (Synthesis) คำถามที่มุ่งวัดพฤติกรรมทางปัญญาด้านการสังเคราะห์หรือการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่นั้นควรเป็นเป็นข้อสอบอัตนัยและใช้กณฑ์การประเมินตามสภาพจริง (rubric)
- คำถามที่มุ่งประเมินพฤติกรรมด้านการประเมินค่า (Evaluation) มุ่งให้ผู้เรียนประเมินความคิดของตนเองที่มีต่อสิ่งต่างๆโดยใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงตรรกะหรือเหตุผลและประสบการณ์ในการให้ระดับคุณค่า
การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
- กำหนดจุดมุ่งหมายการสอบวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ มาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง
- ออกแบบโครงสร้างข้อสอบและสร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบโดยพิจารณาสาระการเรียนรู้และพุทธพิสัยที่จะวัด
- เขียนข้อสอบและคัดเลือกข้อสอบให้ได้จำนวนตรงตามกับที่กำหนดไว้ในตารางวิเคราะห์ข้อสอบทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในและระดับชั้นของผู้เรียนด้วยตรวจสอบคุณภาพเบื้องตันด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา (Content Validity)และคำนวณค่าดัชนีตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาจากนั้นนำช้อสอบมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
- จัดพิมพ์ชุดข้อสอบซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน 1) คำชี้แจงเกี่ยวกับข้อสอบและวิธีการทำ 2) ตัวข้อสอบ 3) กระดาษคำตอบ
- ทดลองใช้ข้อสอบกับผู้เรียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้เรียนที่จะทดสอบจริง
- วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบด้วยสถิติเบื้องต้นได้แก่ค่าความยากอำนาจำแนกความเที่ยงของแบบทดสอบและความตรงบางชนิด
- ทดลองใช้ข้อสอบอีกครั้งและนำมาปรับปรุงจนกว่าจะได้ค่คุณภาพที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์
- นำแบบทดสอบมาใช้กับนักเรียนที่จะทดสอบจริงและดำเนินการจัดสร้างคลังข้อสอบ
ดาวน์โหลดไฟล์
ขอบคุณที่มา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (rbru.ac.th)