ดาวน์โหลดแนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน โดย สพฐ.
ดาวน์โหลดแนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน โดย สพฐ.
เจตนารมณ์และหลักการพื้นฐานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นการดำเนินงานที่มีแบบแผนขั้นตอนชัดเจนในการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติร่วมพัฒนา ร่วมแก้ปัญหาจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดนโยบายสำคัญให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนักเรียน ทุกคนจะต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือ พิทักษ์ปกป้อง คุ้มครองอย่างรอบด้านด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง เหมาะสมและทันการณ์ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติเพื่อให้ป็นคนดี มีความสุข และปลอดภัยในสภาพสังคมปัจจุบัน โดยมีแนวทางการดำเนินการในประเด็นสำคัญ ดังนี้
(๑) การปรับเปลี่ยนบทบาทและเจตคติของผู้บริหาร ครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มุ่งไปสู่ความรับผิดชอบในการดูแลพัฒนาการของนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม (Educating the Whole Child)
(๒) การวางระบบที่จะสร้างความมั่นใจว่านักเรียนทุกคนมีครู-อาจารย์ อย่างน้อยหนึ่งคนที่จะดูแลทุกข์สุขอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยเชื่อมประสานการดำเนินงานทุกส่วนทั้งโรงเรียน
(๓) การสนับสนุนให้ครู-อาจารย์ได้มีความสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองเพื่อให้การดูแลทางบ้านโรงเรียน และชุมชนเชื่อมประสานกัน
(๔) การส่งเสริมให้ผู้ปกครองรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังดูแลกลุ่มเครือข่ายช่วยเหลือสนับสนุนบุตรหลาน
(๕) การประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้มีการส่งต่อและรับช่วงการแก้ไข ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในรูปแบบสหวิทยาการ และสหวิชาชีพ
แนวทางการดำเนินงาน
๑. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๑.๑ ประสานสัมพันธ์ให้หัวหน้าส่วนราชกรระดับจังหวัด อำเภอ ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนเห็นความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการเยี่ยมบ้านนักเรียนพร้อมทั้งเชิญชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเยี่ยมบ้านนักเรียนกับโรงเรียนในพื้นที่ตามความเหมาะสม
๑.๒ ประชาสัมพันธ์ห้สาธารณชนทราบและเห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยใช้วิธีการและสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่น การประชุมหัวหน้าส่วนราชการและข้าราชการในระดับต่างๆ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นสถานีวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ฯลฯ
๑.๓ ประสานงาน และสร้างความเข้าใจกับสถานศึกษาเพื่อกำหนดแผนการเยี่ยมบ้านนักเรียนร่วมกัน
๑.๔ จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
๑.๕ สรุปผลการเยี่ยมบ้านนักเรียน
๒. ระดับสถานศึกษา
๒.๑ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและประชาชนทราบการดำเนินงาน โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย เช่น การประชุมผู้ปกครอง การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน การจัดทำแผ่นพับ ฯลฯ
๒.๒ มอบหมายให้ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น กำหนดแผนการเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ชัดเจน
๒.๓ ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง สมาชิก ในครอบครัวว่านักเรียนอยู่กับใครอยู่อย่างไร หากไปแล้วจะพบใครบ้าง
๒.๔ วิเคราะห์ว่าใครคือคนที่ต้องการพบ เช่น พ่อแม่ หรือลุง ป้า น้าอาของนักเรียน
๒.๕ เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และประเด็นในการสนทนา
๒.๖ นัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้มีความพร้อมทั้งสองฝ่าย หรือในกรณีที่ต้องการข้อมูลจำเป็นเร่งด่วนจะไม่นัดหมายก็ได้ หกต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติไม่มีการจัดฉาก ผู้เยี่ยมบ้านอาจไม่นัดหมายล่วงหน้า
๒.๗ ไปตามนัด กรณีที่ไปไม่ได้ต้องแจ้งล่วงหน้าเพราะผู้ปกครองนักเรียนบางคนอาจต้องหยุดงานเพื่อรอพบครู ไม่ควรเลื่อนนัดถ้าไม่จำเป็น
๒.๘ หากไปตามนัดแล้วไม่พบใคร ให้ถามเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพื่อทราบข้อมูลที่จะมาในครั้งต่อไป
๒.๙ สรุปรายงานและความเห็นของผู้เยี่ยมบ้าน เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลนักเรียน
ตัวอย่าง แนวทางการให้ความช่วยเหลือหลังจากการเยี่ยมบ้าน
ขอบคุณที่มา :: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | – สพฐ (obec.go.th)