เคล็ด (ไม่) ลับ ฉบับครูเจเขียนแผนการสอนอย่างไรให้ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด ว PA
เคล็ด (ไม่) ลับ ฉบับครูเจเขียนแผนการสอนอย่างไรให้ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด ว PA
บทความนี้ขอนำเสนอ ทบทวนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับยื่นประเมินวิทยฐานะผ่านระบบ DPA ให้ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด ว PA คุณครูสามารถศึกษาแนวทางในบทความด้านล่างครับ
แบ่งปัน การบรรยายพิเศษ : เคล็ด (ไม่) ลับ ฉบับครูเจ เขียนแผนการสอนอย่างไร ให้ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด ว PA
โดย ครูเจ นจรส ศิริขรรแสง โรงเรียนวัดปรังกาสี สพป.กาญจนบุรี เขต 3
วันอาทิตย์ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 19.00 – 21.00 น. ออนไลน์
องค์ประกอบในแผนการสอน ต้องครบ
จุดประสงค์การเรียนรู้ (KPA) ต้องชัด / ต้องวัดได้
อย่าลืม คำกริยาที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ในจุด ประสงค์การเรียนรู้ (KPA)
คำกริยาที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ (KPA)
พุทธิพิสัย (ความรู้) Cognitive Domain
* ขั้น จำ ใจ ใช้ วิ สัง ประ*
เช่น บอก อธิบาย เปรียบเทียบ ทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ แก้ปัญหา สาธิต บอกความแตกต่างให้เหตุผล ตัดสินใจ ทบทวน เป็นต้น
คำกริยาที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ (KPA)
ทักษะพิสัย (ทักษะ) Psychomotor Domain (P)
เช่น ฝึกปฏิบัติ สร้าง ประดิษฐ์ ใช้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์ ปฏิบัติตามขั้นตอน ใช้กระบวนการกลุ่ม นำเสนอ การทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
คำกริยาที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ (KPA)
เจตพิสัย (เจตคติ) Affective Domain (A)
เช่น ตั้งใจฟัง เอาใจใส่ ตระหนัก เห็นคุณค่า มีเจตคติที่ดี ยอมรับ เห็นประโยชน์ รับผิดชอบ มีบุคลิกภาพ ตรงเวลา ปฏิบัติตาม ร่วมมือ มีค่านิยม กระตือรือร้น เป็นต้น
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (สำคัญมาก 8 ตัวชี้วัด)
เขียนแผนเป็นขั้นตอน เห็นกระบวนการ 1 2 3 4 …
คำกริยา สามารถสะท้อนไปถึง 8 ตัวชี้วัดได้
อาจเลือกใช้เทคนิค วิธีสอนของนักทฤษฎี นักการศึกษาได้ (เช่น สืบเสาะ ซิปปา กระบวนการกลุ่ม 5E โครงงาน เป็นต้น)
8 ตัวชี้วัด วPA (ด้านที่ 1)
- ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
- ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
- ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
- ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง
ตัวอย่างการพิจารณา 8 ตัวชี้วัด
การวัดและประเมินผล ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
วิธีการวัด วัดอย่างไร วิธีใด
เครื่องมือการวัด ใช้อะไรวัด เครื่องมืออะไร
เกณฑ์การประเมิน กำหนดสูงไป ต่ำไป ไม่ดี (เอาพอดี)
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ใส่มาด้วยนะครับ
ใบกิจกรรม ใบความรู้ ใบงาน แนบใส่มาในแผนด้วย นะครับ
เครื่องมือการวัด (แบบประเมิน) แนบใส่มาในแผนด้วย นะครับ
ข้อสอบ พร้อมเฉลย
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
บันทึกหลังการสอน ต้องมี
แนะนำให้บันทึกแยก 8 ตัวชี้วัด
คนอ่านงานของเราจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
นำสิ่งที่อยู่ในแผน มาเขียน
ผล / ปัญหา / ทางแก้ / ผลการแก้
4 ตัวชี้วัด (ด้านที่ 2)
แต่ละตัวชี้วัด จะมีตัวชี้วัดย่อยๆ อย่าลืมอ่านคู่มือ จาก ก.ค.ศ. ด้วยครับ
- ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู
- ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
- ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
- ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – functional Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามวิทยฐานะ
ครู (คศ.1) : ปรับประยุกต์
ชำนาญการ (คศ.2) : แก้ไขปัญหา
ชำนาญการพิเศษ (คศ.3): ริเริ่ม พัฒนา
เชี่ยวชาญ (คศ.4) : คิดค้น และปรับเปลี่ยน
เชี่ยวชาญพิเศษ (คศ.5) : สร้างการเปลี่ยนแปลง
ขอบคุณที่มา :; Teacher Jay