เอกสารเอกสารวิชาการ

แจกฟรี ตัวอย่างการเขียนแบบบันทึกข้อตกลง ว.9 PA ครบทุกกลุ่มสาระ ไฟล์ Word

แจกฟรี ตัวอย่างการเขียนแบบบันทึกข้อตกลง ว.9 PA ครบทุกกลุ่มสาระ ไฟล์ Word ขอขอบคุณเครดิตจาก คุณครูธิติมา ชิณพันธ์

ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA

แจกฟรี ตัวอย่างการเขียนแบบบันทึกข้อตกลง ว.9 PA ครบทุกกลุ่มสาระ ไฟล์ Word

การเขียนแบบบันทึกข้อตกลง

ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA
ตัวอย่างไฟล์แบบบันทึกข้อตกลง PA

ข้อตกลง PA คืออะไร

PA หรือที่เรียกเต็มๆว่า Performance Agreement คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน ซึ่ง PA คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งตรงสู่การบรรลุซึ่ง วิสัยทัศน์และพันธกิจ
หรือความสำเร็จขององค์กร มีการทำข้อตกลงล่วงหน้าถึงกิจกรรม ตัวชี้วัดที่จะประเมิน ตลอดจนเกณฑ์ผ่าน โดยผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถร่วมกันกำหนด และข้อตกลงต่างๆ ต้องสอดคล้องกับคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งงานนั้น และ สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน/องค์กรนั่นเอง

ขั้นตอนการทำ PA (Performance Agreement)

• ผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมินทำข้อตกลงประเมินผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ก่อนเริ่มรอบการประเมิน
• เมื่อผ่านพ้นระยะการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินและ ผู้ถูกประเมิน ร่วมรับรู้ผลการประเมินพร้อมกัน รวมทั้งร่วมกัน วางแผนการพัฒนา/ฝึกอบรมผู้ถูกประเมินเมื่อมีข้อควรพัฒนา
• ผู้ประเมินกำหนดข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบต่อไปกับผู้ถูกประเมิน โดยควรครอบคลุมจุดที่ควรพัฒนา

ทำไมคุณครูต้องทำ PA (Performance Agreement)

ครูทุกคนต้องทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) กับ ผอ. ทุกปีงบประมาณ ตามแบบของ ก.ค.ศ.
และต้องได้คะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 เพื่อคงวิทยฐานะ และ ใช้ในการประเมินเลื่อนเงินเดือน

ประโยชน์การทำ Performance Agreement

ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถทบทวนลักษณะการปฏิบัติงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการจัดสรรปันส่วนงาน เพื่อให้การ ปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งหน่วยงานสอดคล้องกับพันธกิจของ หน่วยงาน/องค์กร

• การทำข้อตกลงการประเมินผลก่อนการประเมินผลจริง โดย ข้อตกลงเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน รวมทั้ง ข้อตกลงเป็นที่รับรู้ของบุคลากรในหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการ ยอมรับและสร้างความยุติธรรมในหน่วยงาน

• ในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน 2 หน้าที่ (Dual Position) การทำข้อตกลงการประเมินผลจะทำให้สามารถแบ่งเวลาการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งมีความแม่นยำมากขึ้นใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน

ขอขอบคุณเครดิตจาก คุณครูธิติมา ชิณพันธ์

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
error: Content is protected !!