แจกไฟล์ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา คู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต ป.1-6
แจกไฟล์ หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต คู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ “รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต ป.1-6 ” โดยวิชาการป้องกันการทุจริต
มัธยม > เปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม
ประถม > เปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม / บูรณาการสังคม / หรือบูรณาการกับวิชาแนะแนว
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๔) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต อันมีกลยุทธ์ว่าด้วยเรื่องของการปรับฐานความคิดทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริตเสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมกร ป.ป..) จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต ขึ้น เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล กำหนดแนวทางและขอบเขตในการจัดทำหลักสูตร ยกร่างและจัดทำเนื้อหาหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม กำหนดแผนหรือแนวทางการนำ้หลักสูตรไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย
คณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริตได้ร่วมกันสร้างหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษา : AntiCorruption Education ประกอบด้วย ๕ หลักสูตร ดังนี้๑. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต ๒. หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด”Youngster with good heart”) ๓. หลักสูตรตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ ๔. หลักสูตรสร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต และ . หลักสูตรโค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต หลักสูตรดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการนำไปทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ สำหรับการใช้ในกลุ่มเป้าหมายต่อไป
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริตยังได้คัดเลือกสื่อการเรียนรู้ จากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่งประเทศ เพื่อประกอบการเรียนการสอนต่อไป
สำนักงาน ป.ป.ช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตร ต้านทุจริตศึกษา : Anti-Corruption Education จะสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะให้แก่ผู้เรียนหรือผู้ผ่านการอบรมในเรื่องการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต และพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อร่วมกันป้องกันหรือต่อต้านการทุจริต มิให้มีการทุจริตเกิดขึ้นในสังคมไทยร่วมสร้างสังคมไทยที่ไม่ทนต่อการทุจริตต่อไป
ชุดวิชา โดยแต่ละหลักสูตรจะประกอบด้วยเนื้อหา ๔ ชุดวิชา ดังนี้
๑) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
๒) ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
๓) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
๔) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชื่อหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต)
๑) จัดทำเป็นรายวิชาบังคับ
๒ นำไปจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมของโรงเรียนและจัดเวลาเรียนเพิ่มสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง
๓) นำไปใช้ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง
๔) นำไปบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระหน้าที่พลเมือง) หรือนำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐานจัดทำเป็นรายวิชาบังคับ และให้หน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่มีสถาบันการศึกษาในสังกัด เช่นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ นำหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐานไปพิจารณาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ข้อมูลจาก >> สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ https://www.nacc.go.th