
อบรมออนไลน์ ฟรี หลักสูตรการลดความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติและการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รับรอง 20 ชั่วโมง โดยสพฐ.และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
อบรมออนไลน์ ฟรี หลักสูตรการลดความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติและการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รับรอง 20 ชั่วโมง โดยสพฐ.และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
โครงการโรงเรียนปลอดภัยในประเทศไทย หลักสูตรการลด ความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติ และการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และ Save the Children เป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ให้แก่ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้รู้ถึงความเสี่ยงภัยของตนโดยเฉพาะในพื้นที่ และสามารถวางมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมตลอดจนสามารถดูแลผลกระทบเมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ
สามเสาหลักของความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน
ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษา มีความสอดคล้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติในระดับประเทศ , ภูมิภาค , จังหวัดและดับพื้นที่รวมทั้งโรงเรียน กรอบแนวคิดความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่
เสาหลักที่ 1 สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนที่ปลอดภัย
ผู้มีบทบาทหลัก : บุคลากร/หน่วยงานด้านการศึกษาและการวางแผน สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้างบุคลากรโรงเรียน และสมาชิกชุมชนที่มีบทบาทในการตัดสินใจด้านการเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่ปลอดภัย การออกแบบ การก่อสร้าง และการดูแลรักษาโรงเรียน (รวมถึงการเข้าถึงอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างปลอดภัยสม่ำเสมอ)
เสาหลักที่ 2 : การบริหารจัดการภัยพิบัติในโรงเรียน
ผู้มีบทบาทหลัก : ผู้บริหารภาคการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด รวมทั้งชุมชนโรงเรียนในพื้นที่ซึ่งร่วมงานกับหน่วยงานด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ ในระดับโรงเรียน ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ปลอดภัย ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การประเมินและลดความเสี่ยงทางสังคมสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภคและความเสี่ยงที่ไม่ใช่โครงสร้างและโดยการพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยพิบัติและวางแผนการศึกษาต่อเนื่อง
เสาหลักที่ 3 : การศึกษาด้านการลดความเสี่ยงและการรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติ
ผู้มีบทบาทหลัก : ผู้จัดทำหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผู้อบรมครู ครู กลุ่มเยาวชน ผู้นำในการจัดกิจกรรมเยาวชน และนักเรียน ที่จะร่วมมือการเพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยและมีความสามารถในการรู้รับปรับตัวและพื้นคืนกลับจากภัยพิบัติ
ตัวอย่างเกียรติบัตร

