เตรียมอ่านสอบ สรุปข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565 สอบครูผู้ช่วย พนักงานราชการ
เตรียมอ่านสอบ สรุปข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565 สอบครูผู้ช่วย พนักงานราชการ
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 15 ธันวาคม 2565
มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (บังคับใช้ 16 มีนาคม 2566)
ผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้คือ ประธานกรรมการคุรุสภา
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท ดังนี้
1.ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง
2.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
3. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
4.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
1.มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2.มีคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษาเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง
3.ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสุตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีและผ่านเกณฑ์การประเมิน
ลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอุนุญาตประกอบวิชาชีพ
1.เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศิลธรรมอันดี
2.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
3.เคยต้องโทษจำคุกคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
คุณสมบัติของ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริการการศึกษา หรือศึกษานิเทศก์
1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั่นสูง ที่ยังไม่หมดอายุ
2) มีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
ลักษณะต้องห้าม ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริการการศึกษา หรือศึกษานิเทศก์
1,เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศิลธรรมอันดี
2.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
3.เคยต้องโทษจำคุกคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้ยื่นคำขอต่อ เลขาธิการคุรุสภา เมื่อตรวจสอบคำขอแล้ว ครบถ้วนถูกต้อง ให้เลขาธิการคุรุสภา เสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติออกใบอนุญาตตามประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และชั้นสูง ต้องขอตามกลุ่มวิชาและสามารถขอรับใบอนุญาตได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มวิชาใบอนุญาตให้เป็นแบบใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
อายุ ของใบอนุญาต
ประเภทใบอนุญาต | มีอายุ |
ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู | 2 ปี |
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น | 5 ปี |
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง | 7 ปี |
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา | 5 ปี |
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา | 5 ปี |
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ | 5 ปี |
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ PBA ของครู มีแบบไหนบ้าง
ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู (Provisional Licence) หรือ(P-Licence)
-ใบนี้ มีให้นักศึกษา ที่จบหลักสุตรทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง แต่ยังไม่ได้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น (Basic – Licence) หรือB-Licience
-ใบนี้มีให้ผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครุที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อนวันบังคับใช้ ซึ่งยังไม่มีวิทยฐานะ (คศ.1 ลงมา) และผู้ยื่นคำขอที่มีคุณสมบัติและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง รวมทั้งผ่านการทดสอบแและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง (Advance – Licence) หรือ A-Licience
-ใบนี้ออกให้ผู้ที่เป็นครู คค.2 ก่อนวันบังคับใช้ข้อบังคับนี้เลยโดยไม่ต้องผ่านการประเมิน ส่วนผู้ที่เป็นครู คศ.2 หลังจากข้อบังคับนี้บังคับใช้ จะต้องผ่านเกณฑ์
การประเมินตามระดับคุณภาพที่คุรุสภากำหนดไว้ จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตระดับ A – Licience
การต่ออายุใบอนุญาต
ㆍให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภา ภายใน 180 วันก่อนวันที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ
ค่าปรับกรณียื่นคำขอต่อใบอนุญาตล่าช้า
- กรณียื่นคำขอต่อใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุ
- ต้องชำระค่าดำเนินการกรณีขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้ ในอัตรา เดือนละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีระยะเวลาดังกล่าวไม่ถึง 1 เดือน ให้นับเป็น 1 เดือน
กรณีขอให้ออกใบอนุญาตหรือต่อใบอนุญาตกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน
ㆍให้ยื่นคำร้องต่อเลขาธิการคุรุสภาและชำระค่าดำเนินการฉบับละ 1,000 บาทการเพิกถอน ใบอนุญาต
ㆍ ผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาต จะยื่นขอใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้น 5 ปี นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น
การอุทธรณ์
ㆍ ผู้ยื่นคำขอรับหรือต่อใบอนุญาต ที่คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกหรือต่อใบอนุญาตให้
ㆍ อาจอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง
ㆍ การอุทธรณ์ ให้ทำเป็นหนังสือ โดยใช้ถ้อยคำสุภาพ ต้องมีรายละเอียดดังนี้
1.ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์
2.การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ พร้อมทั้งข้อเท็จจริง
3. คำขอของผู้อุทธรณ์
4. ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์
ㆍ กรณีผู้อุทธรณ์เห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของ คณะกรรมการคุรุสภาไม่เป็นธรรม ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ใบอนุญาต สิ้นสุดลงกรณีดังต่อไปนี้
1.หมดอายุ
2.ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
3.ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ทะเบียนผู้รับใบอนุญาต
ㆍ ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้ได้รับใบนุญาต
ㆍเลขาธิการคุรุสภา เป็นผู้ดูแลรักษาทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต
ㆍ ผู้ได้รับใบอนุญาต ที่จะขอแก้ไขข้อมูลทางทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภา และชำระค่าดำเนินการครั้งละ 100 บาท
ㆍ ผู้ได้รับใบอนุญาตที่มีความประสงค์ ขอรับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภา
ขอบคุณที่มา :; สอบครูผู้ช่วยนะ