event

ขอเชิญทำแบบทดสอบสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเกีบรติบัตรทางอีเมล โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ขอเชิญทำแบบทดสอบสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเกีบรติบัตรทางอีเมล โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบเพื่อประกอบการทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้เรียนสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ของอาจารย์ ดร.ถิรายุ อินทร์แปลง อาจารย์ประจำสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผลการวิจัยนี้จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลของท่านไว้เป็นความลับ ท่านจะได้รับเกียรติบัตรเมื่อตอบคำถามได้ถูกต้อง 20 ข้อ หากท่านไม่ได้รับเกียรติบัตรหรือมีข้อสงสัยท่านสามารถส่งอีเมล์แจ้งมายัง thirayutest@gmail.com 

        *** ท่านสามารถศึกษาข้อมูลการให้ข้อมูลป้อนกลับจาก URL LINK https://drive.google.com/file/d/1y1ZSn129aGps7y2swyP0U8tV3zPym8p4/view?usp=drive_link 

การให้ข้อมูลป้อนกลับคืออะไร
การให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเกี่ยวกับการให้ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับข้อผิดพลาดของผู้เรียนที่เกิดจากก การทดสอบหรือการให้ปฏิบัติในการเรียน โดยผู้สอนจะให้ คำแนะนำ
เทคนิค วิธีการพัฒนาปรับปรุงตลอดจนชี้แนะแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนมีความ รู้ ความสามารถเป็นไปตาม
เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน โดยข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับ
ผู้เรียน

การให้ข้อมูลป้อนกลับสำคัญไฉน ?
การให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นปัจจัยอันสำคัญที่พัฒนาประสิทธิภาพการสอน เป็นหนทางสำคัญในการ
พัฒนาการสอน เป็นกลวิธีที่จะกระตุ้นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสนใจการเรียน สร้างทัศนคติเชิงบวกแก้ผู้เรียน
เป็นการประเมินผลและเสริมกรเรียนรู้ผู้เรียนไปในคราวเดียวกัน นอกจากนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนา
ปรับพื้นฐานของผู้เรียนให้สามารถบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเทคนิคในการสร้าง
บรรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นชั้นเรียนที่น่าเรียน

รูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับ
การให้ข้อมูลป้อนกลับมีรูปแบบที่จำแนกไปในหลายทิศทาง จากการศึกษาเอกสาร ตำราและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องสามารถจำแนกประเภทของรูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นดังนี้ ( 1) การให้ข้อมูลป้อนกลับที่
จำแนกตามวิธีการเสริมแรงทางจิตวิทยา (2) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามระยะเวลาที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ
(3) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามวิธีการให้ข้อมูลสารสนเทศป้อนกลับไปยังผู้เรียนและ (4) การให้ข้อมูล
ป้อนกลับจำแนกตามรายละเอียดเนื้อหาการให้ข้อมูล
การให้ข้อมูลป้อนกลับที่จำแนกตามวิธีการเสริมแรงทางจิตวิทยา ประกอบไปด้วย (1.1) การให้ข้อมูล
ป้อนกลับแบบจูงใจ หรือ การเสริมแรง (Motivational or Positive Feedback)และ(1.2) การให้ข้อมูล
ป้อนกลับเชิงลบ (Negative Feedback)
การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามระยะเวลาที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ประกอบไปด้วย (2.1) การให้ข้อมูล
ป้อนกลับแบบล่าช้า (2.2) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบทันที (Immediate Feedback)

การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามวิธีการให้ข้อมูลสารสนเทศป้อนกลับไปยังผู้เรียน ประกอบไปด้วย
(3.1) การให้ข้อมูลป้อนกลับโดยการพูด (Oral Feedback / Verbal Feedback) และ(3.2) การให้ช้อมูล
ป้อนกลับโดยการเขียน (Written Feedback) และ(3.3) การให้ข้อมูลป้อนกลับโดยการใช้รหัส (Code
Feedback)
การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามรายละเอียดเนื้อหาการให้ข้อมูล ประกอบไปด้วย (4.1) การให้ข้อมูล
ป้อนกลับแบบบอกการกระทำ (4.2) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบให้ตอบหลายครั้ง (4.3) การให้ข้อมูล
ป้อนกลับแบบบอกข้อผิดพลาด และ (4.4) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบให้เอกสารแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม

หลักการการให้ข้อมูลป้อนกลับ
1 ข้อมูลป้อนกลับต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชากร มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมและ
สามารถตรวจสอบได้
2 ลักษณะของข้อมูลสารสนเทศที่ป้อนกลับไปยังผู้เรียนต้องมีความชัดเจน มีรายละเอียด การ
อธิบายที่สัมพันธ์กับเป้าหมายของการสอน มีลักษณะที่ระบุเฉพาะเจาะจง เฉพาะเรื่อง เป็นต้น
3 การให้ข้อมูลป้อนกลับต้องสามารถลดปัญหา ความวิตกกังวล และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ที่ดีขึ้น ซึ่งต้องมีการสอดแทรกการเสริมแรง การเพิ่มแรงจูงใจ เพื่อผลักดันให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหา ลด
ความเครียดวิตกกังวล

แบบทดสอบสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเกีบรติบัตรทางอีเมล โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ขอเชิญทำแบบทดสอบสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเกีบรติบัตรทางอีเมล โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ตัวอย่างเกียรติบัตร

ขอเชิญทำแบบทดสอบสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเกีบรติบัตรทางอีเมล โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

*** แบบทดสอบจำกัดการส่งวุฒิบัตร หากเต็มให้รอทำวันถัดไปครับ

การแปลผลคะแนนเป็นดังนี้

คะแนน 25-30 คือ ระดับสูงกว่ามาตรฐาน
คำอธิบาย
ครูทราบและใช้เทคนิค กลยุทธ กลวิธีในการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้เรียน ประกอบไปด้วย (1) การให้ข้อมูลป้อนกลับที่จำแนกตามวิธีการเสริมแรงทางจิตวิทยา (2) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามระยะเวลาที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ (3) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามวิธีการให้ข้อมูลสารสนเทศป้อนกลับไปยังผู้เรียนและ (4) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามรายละเอียดเนื้อหาการให้ข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญและมีประสิทธิภาพ

คะแนน 11-24 คือ ระดับเป็นไปตามมาตรฐาน
ครูทราบและใช้เทคนิค กลยุทธ กลวิธีในการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้เรียน ประกอบไปด้วย (1) การให้ข้อมูลป้อนกลับที่จำแนกตามวิธีการเสริมแรงทางจิตวิทยา (2) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามระยะเวลาที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ (3) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามวิธีการให้ข้อมูลสารสนเทศป้อนกลับไปยังผู้เรียนและ (4) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามรายละเอียดเนื้อหาการให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

คะแนน 0-10 คือ ระดับต่ำกว่ามาตรฐาน
ครูไม่ทราบทราบและใช้เทคนิค กลยุทธ กลวิธีในการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้เรียน ประกอบไปด้วย (1) การให้ข้อมูลป้อนกลับที่จำแนกตามวิธีการเสริมแรงทางจิตวิทยา (2) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามระยะเวลาที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ (3) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามวิธีการให้ข้อมูลสารสนเทศป้อนกลับไปยังผู้เรียนและ (4) การให้ข้อมูลป้อนกลับจำแนกตามรายละเอียดเนื้อหาการให้ข้อมูล

ขอบคุณที่มา สำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Related Articles

Back to top button
error: Content is protected !!