วิธีนำเสนอแบบอย่างที่ดี (Best Practice) การประเมินคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพการศึกษา
วิธีนำเสนอแบบอย่างที่ดี (Best Practice) การประเมินคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพการศึกษา
วิธีนำเสนอแบบอย่างที่ดี (Best Practice) การประเมินคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพการศึกษา
EP.56 วิธีนำเสนอแบบอย่างที่ดี (Best Practice) “แบบอย่างที่ดี (Best Practice)” และ “นวัตกรรม (Innovation)” จะมีความคล้ายคลึงกันมากในการนำไปใช้ในสถานศึกษา แต่จะมีจุดแตกต่างกัน คือ แบบอย่างที่ดี มีคนหรือหน่วยงานอื่นนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือนำเอาไปปรับใช้ ดังนี้การจะบอกว่าอะไรคือ แบบอย่างที่ดี จึงมีวิธีการนำเสนอดังนี้
1. “ชื่อผลงานที่เป็นแบบอย่างที่ดี” จะต้องระบุ “ชื่อโครงการหรือกิจกรรม” ที่ชัดเจน ถ้าเป็นชื่อ “ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด” ที่จะนำมาอ้างอิงได้ก็ยิ่งดี และควรระบุผู้รับผิดชอบโครงการด้วย “เพื่อให้ชัดเจนรู้ที่ไปที่มา”
2. “วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและมาตรฐาน” โครงการหรือกิจกรรมที่นำเสนอจะต้องมี “วัตถุประสงค์” และ “ผลลัพธ์” ที่ต้องตอบกับ “เกณฑ์พิจารณาในตัวชี้วัดนั้น” ได้อย่างชัดเจน “เพื่อให้ตรงประเด็น”
3. “กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน” ต้องนำเสนอขั้นตอนการดำเนินงาน “เป็นข้อๆ หรือเป็นขั้นตอน” ให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ “เพื่อให้เข้าใจง่ายนำไปใช้ได้เลย”
4. “วิธีประเมินผล” อาจจะเขียนไว้ในขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินงานให้ชัดเจน “เพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่ถูกต้อง”
5. “ผลการดำเนินงานที่ส่งผลที่ดีต่อผู้เรียนหรือสถานศึกษา” ต้องสรุปผลการดำเนินงานที่ “บรรลุเป้าหมาย” และบอกได้ว่า “ส่งผลดี” ต่อผู้เรียนหรือสถานศึกษาอย่างไร “เพื่อจะดูการพัฒนา”
6. “ปัจจัยหรือสิ่งสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ” ต้องบอกถึงปัจจัยภายในหรือภายนอกสถานศึกษาที่มีส่วนทำให้เกิดแบบอย่างที่ดีขึ้น “เพื่อดูการมีส่วนร่วม” ของผู้เกี่ยวข้อง
7. “ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ให้การยอมรับ” ต้องระบุชื่อผู้ให้การยอมรับ เช่น การได้รับรางวัล การมีคนมาศึกษาดูงาน เป็นต้น โดยต้องระบุปี พ.ศ. ที่ได้รับการยอมรับย้อนหลังไม่เกิน ๓ ปี “เพื่อยืนยันเชิงประจักษ์”
8. “การเผยแพร่แบบอย่างที่ดี” สถานศึกษาต้องนำเสนอหลักฐานที่แสดงถึงการเผยแพร่ให้ชัดเจน กรณีที่มีหลักฐานชัดเจนต้องเตรียมผู้รับผิดชอบหรือผู้เกี่ยวข้องคอยตอบคำถามกับผู้ประเมินไว้ กรณีที่ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานยืนยัน นอกจากจะเตรียมผู้เกี่ยวข้องภายในไว้แล้วต้องเตรียมข้อมูลของหน่วยงานที่นำเอาไปเป็นแบบอย่างด้วยว่าเมื่อได้นำไปใช้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง “เพื่อยืนยันจากผู้ปฏิบัติ”
การที่มีผู้นำผลงานของเราไปเป็นแบบอย่าง “ถือเป็นการต่อยอดผลงาน” และสร้างกำลังใจให้กับผู้สร้างผลงานเป็นอย่างยิ่งจะทำให้เกิด “คุณค่า” กับงานที่ทุ่มเททำมาอย่างเต็มกำลังความสามารถอย่างแท้จริง
ขอบคุณที่มา : Facebook กีรติ ประเมินคุณภาพภายนอก