ไฟล์ผังการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) วิชาครู พ.ศ.2566 ฉบับผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการฯ และสภาคณบดีฯ
ไฟล์ผังการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) วิชาครู พ.ศ.2566 ฉบับผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการฯ และสภาคณบดีฯ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕๘ จ (๓) กำหนดให้มีกลไก
และระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูมีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๙ คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ (๓) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ และ (๕) สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ในการนี้ คณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒ ได้มีมติให้ดำเนินการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับผู้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาและประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกอบกับ ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๑๓ กำหนดให้การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น ตามกลุ่มวิชาที่ขอรับใบอนุญาตจะออกให้แก่ผู้ยื่นคำขอที่ตรวจสอบคำขอแล้วเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เอกสารหลักฐานครบถ้วน ถูกต้อง รวมทั้งผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งกำหนดให้การทดสอบด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครู ประกอบด้วย (๑) วิชาครู (๒) กลุ่มวิชา ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภาดังกล่าว ได้กำหนดให้ “วิซาครู ” หมายความว่า วิชาที่มีการบูรณาการความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู เข้าไว้ด้วยกัน ยกเว้นความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
การดำเนินการจัดทำผังการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint ได้มีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน เพื่อดำเนินการจัดทำผังการสร้างแบบทดสอบวิชาครู และระดับการวัดสมรรถนะทางวิชาชีพครูของคุรุสภา ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวยึดตามกรอบมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยเน้นรูปแบบการประเมินสมรรถนะ
และผลลัพธ์การเรียนรู้ (Competency – Based and Outcome Based Assessment) มีการประยุกต์แนวคิด
Revised Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives : Cognitive ผสานเข้ากับแนวคิด The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy: SOLO Taxonomy เพื่อให้มีการดำเนินการผ่านการสอบที่เป็นแบบวัดสถานการณ์ (Situation Based Testing) ซึ่งเป็นข้อสอบเชิงบูรณาการความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เป็นองค์รวม ที่แสดงออกของถึงสมรรถะตามวิชาชีพครูตามขอบเขตการปฏิบัติงานครู โดยมีฐานจากแนวคิดหลักการตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังนี้
๑) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
๓) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัสในการจัดการเรียนรู้การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
๕) การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งนี้ จากแนวคิดการประเมินสมรรถนะและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Competency – Based and Outcome Based Assessment) โดยประยุกต์แนวคิด Revised Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives : Cognitive ผสานเข้ากับแนวคิด The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy: SOLO Taxonomy ผ่านการสอบที่เป็นแบบวัดสถานการณ์ (Situation Based Testing) ซึ่งเป็นข้อสอบเชิงบูรณาการความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เป็นองค์รวม ที่แสดงถึงการแสดงออกของสมรรถนะตามวิชาชีพครูตามขอบเขตสถานการณ์การทำงานของครู สรุปเป็นระดับการวัดสมรรถนะทางวิชาชีพครูของคุรุสภา (Competency level) โดยมีการกำหนดขอบเขตและน้ำหนักการวัดสมรรถนะทางวิชาชีพครูของคุรุสภา
(Competency level) ตามตาราง
ดาวน์โหลดไฟล์ : https://drive.google.com/file/d/1_2t5amVvg7JSGUEMeLfPFMqB4oMN1XY3/view
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์คุรุสภา