บุคลิกภาพครูที่ดี เป็นอย่างไร แนวทางในการพัฒนาส่งเสริมบุคลิกภาพคุณครู
บุคลิกภาพครูที่ดี เป็นอย่างไร แนวทางในการพัฒนาส่งเสริมบุคลิกภาพคุณครู
สำหรับวิชาชีพครู บุคลิกภาพถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและเสริมภาพลักษณ์สำหรับคุณครู โดยบุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะส่วนรวมของระบบทางกายและจิตภายในตัวบุคคล เป็นพฤติกรรมของบุคคลทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว ในด้านกิจการงาน และในสังคมโดยทั่วไป และยังได้กล่าวถึงคำจำกัดความของบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาเด่น ๆ เป็นหน่วยรวมของระบบทางกายและจิตภายในตัวบุคคล ซึ่งกำหนดลักษณะการปรับตัวเป็นแบบเฉพาะของบุคคลนั้นต่อสิ่งแวคล้อมของเขา บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจะเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะนิสัยในการคิดและการแสดงออกรวมทั้งทัศนคติและความสนใจต่าง ๆ กิริขาท่าทาง ตลอดจนปรัชญาชีวิตที่บุคคลนั้นยืดถือ
บุคลิกภาพครูที่ดี
1) บุคลิกภาพของครูที่ดี ประกอบด้วยบุคลิกภาพ 4 ด้านใหญ่ๆ คือ บุคลิกภาพทางกาย ประกอบด้วย ด้านกายภาพ เช่น รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ ลักษณะท่าทางที่สง่างาม การแต่งกายที่เหมาะสม กิริยามารยาท เป็นต้น ด้านวาจา เช่น การพูดด้วยถ้อยคำที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ถูกกาลเทศะ คล่องแคล่ว ไพเราะอ่อนหวาน และพูดจามีสาระมีเหตุผล ด้านการวางตัว และด้านอิริยาบถ บุคลิกภาพด้านอารมณ์ เช่น การควบคุมอารมณ์ได้ดี ความสนใจผู้เรียน การมีอารมณ์ขัน ไม่เคร่งเครียดจริงจังจนเกินไป มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน ยิ้มแย้ม และร่าเริงอยู่เสมอ เป็นต้น บุคลิกภาพด้านสังคม เช่น มีความเป็นผู้นำ ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ชุมชน และสังคม ความมีระเบียบวินัย สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีการวางตัวที่เหมาะสมในสังคม เป็นต้น บุคลิกภาพด้านสติปัญญา เช่น การมีปฏิภาณไหวพริบที่ดี มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีการตัดสินใจที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรู้รอบตัวดี เป็นคนช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ มีความรู้ในรายวิชาที่สอนด้านวิจัย คอมพิวเตอร์ และสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน การวัดผลประเมินผล รู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นต้น
2) ลักษณะการสอนที่ดี ประกอบด้วย 2 ด้านคือ ด้านการเตรียมตัว ครูต้องวิเคราะห์หลักสูตร จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือบทเรียน มีการเตรียมเนื้อหา สื่อประกอบการเรียนการสอน และแบบวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป็นต้น และด้านการสอน เช่น สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สร้างบรรยากาศในการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยการกระทำ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาสาเหตุ เหตุผล ความเป็นไปของสิ่งที่เรียน มีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผลการเรียนการสอน สร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นต้น
บุคลิกภาพครูที่ดี ประกอบด้วยบุคลิกภาพ 4 ด้าน คือ บุคลิกภาพทางกาย บุคลิกภาพทางอารมณ์ บุคลิกภาพทางสังคม และบุคลิกภาพทางสติปัญญา ดังต่อไปนี้
1. บุคลิกภาพครูทางกาย ประกอบด้วย
1.1 ด้านกายภาพ หมายถึง ครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพเป็นปกติและน่าศรัทธา น่านับถือ ลักษณะบุคลิกภาพทางกาย ได้แก่
1) รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ ลักษณะท่าทางที่สง่างาม
2) การแต่งกายที่เหมาะสม
3) กิริยามารยาท
4) สวมใสเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่าง เพศ วัย และผิวพรรณ
5) มีสุขภาพกายที่แข็งแรง สมบูรณ์
6) ร่างกายสะอาด ผิวพรรณสดใส ใบหน้าแจ่มใส
1.2 ด้านวาจา หมายถึง การแสดงออกทางวาจา การพูดด้วยน้ำเสียงที่แฝงด้านเมตตา ปรารถนาดี นุ่มนวล การพูดด้วยลีลาที่เหมาะสม
1.3 ด้านการวางตัว ควรมีพฤติกรรมให้เหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ คุณวุฒิและวัยวุฒิของตน
1.4 ด้านอิริยาบถ ควรมีอิริยาบถในขณะสอน ขณะทำงาน
2. บุคลิกภาพครูด้านอารมณ์บุคลิกภาพทางอารมณ์ หมายถึง การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง เสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะแสดงออกให้เห็นทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และวาจาให้ผู้เรียนได้รับรู้ได้
1) การควบคุมอารมณ์ได้ดี
2) ความสนใจผู้เรียน หมายถึง มีความกระตือรือร้นที่จะรับรู้หรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ
3. บุคลิกภาพครูด้านสังคม
เป็นบุคลิกภาพที่แสดงออกให้ผู้อื่นพบเห็นได้ในสังคม การเข้าสู่สังคมจึงเป็นบทบาทอย่างหนึ่งของครู
1) มีความเป็นผู้นำ
2) ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ชุมชน และสังคม
3) ความมีระเบียบวินัย สำรวมระวังความประพฤติตนอยู่ในระเบียบแบบแผน (ประพฤติต่อเป็นแบบอย่างที่ดี)
4) สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
5) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
4. บุคลิกภาพครูด้านสติปัญญา
บุคลิกภาพด้านสติปัญญา หมายถึง การใช้สติปัญญาในการสอน การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1) การมีปฏิภาณไหวพริบที่ดี
2) ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสม
3) มีการตัดสินใจที่ดี
4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ลักษณะการสอนที่ดี ส่งเสริมบุคลิกภาพครู
1. ด้านการเตรียมตัวสอน โดยครูต้องวิเคราะห์หลักสูตร จัดเตรียมกระบวนการเรียนการสอน
2. ด้านการสอน สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สร้างบรรยากาศและเวลาให้เหมาะแก่การเรียนรู้
3.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาสาเหตุ
4.ต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา
5.การวัดผล ควรมีการป้อนกลับ (Feed Back) และการเสริม ให้การวัดผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน
6.มีการวัดผลการเรียนการสอนเป็นระยะๆ ให้ติดต่อกัน เพื่อให้เกิดความสนใจ
ที่มา : โรงเรียนดรุณศิษย์ พิทยารังสรรค์ || บุคลิกภาพ ครู ที่ดี! เปิดลักษณะการสอนที่ดี ส่งเสริมบุคลิกภาพคุณครู (learneducation.co.th)