ดาวน์โหลด ไฟล์ทะเบียนคุมการจัดซื้อจัดจ้าง ไฟล์ Excel แก้ไขได้
ดาวน์โหลด ไฟล์ทะเบียนคุมการจัดซื้อจัดจ้าง ไฟล์ Excel แก้ไขได้
ขอนำเสนอไฟล์ทะเบียน คุมการ จัดซื้อจัดจ้าง รูปแบบ Excel แก้ไขได้ โดยให้จัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำบัญชีควบคุม สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่าง
ความหมายของการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ให้นิยามการซื้อและการจ้างเอาไว้เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ตรงกันและเพื่อสะดวกในการปฏิบัติยิ่งขึ้น ดังนี้
การซื้อ หมายความว่า การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง
การจ้าง หมายความรวมถึง การจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการตามระเบียบของกระทรวงการคลัง การรับขนในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สำหรับการพัสดุ หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า การจัดซื้อจัดจ้างเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนแต่เฉพาะการซื้อและการจ้างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัสดุเท่านั้น ไม่รวมถึงการดำเนินการอื่นๆ อาทิ การจ้างที่ปรึกษา การแลกเปลี่ยน การจำหน่าย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นการควบคุมกระบวนการพัสดุทั้งระบบของหน่วยงานภาครัฐมากกว่าการจัดซื้อจัดจ้าง
คุณสมบัติพื้นฐานของระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้มีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสในการซื้อและจ้างของภาครัฐ และหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานภาครัฐจึงควรมีคุณสมบัติพื้นฐานของระบบการจัดซื้อจัดจ้างตามที่สมาคม American Bar Association กำหนดไว้ดังนี้
1) องค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งๆ ต้องมีหน่วยจัดซื้อจัดจ้าง ทำหน้าที่บริหารการจัดซื้อ จัดจ้างของหน่วยงาน อีกทั้งมีกฎหมายและระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และมีแผนการจัดซื้อจัดจ้างที่ชัดเจน
2) การจัดซื้อจัดจ้างทั้งปวงต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด มีความคงเส้นคงวา มีความโปร่งใส มีกลไกและระบบการควบคุมกำกับดูแลที่รัดกุม เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของสาธารณชน
3) เปิดโอกาสให้ “ผู้ขาย” ทุกภาคส่วนในสังคม (ทั้งภาคธุรกิจ องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง) ในการทำการค้าขายกับหน่วยงานภาครัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และส่งเสริมการแข่งขันเสรี
4) ส่งเสริมประสิทธิภาพ ความประหยัด และความคุ้มค่าในการจัดการทรัพย์สินของรัฐ
5) มีหลักประกันด้านคุณภาพ และความเชื่อถือได้ของระบบการจัดซื้อจัดจ้าง สำหรับบริบทของประเทศไทย จะมีหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้าน การพัสดุ การจัดซื้อ การจัดจ้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1) หน่วยงานกลาง มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานพัสดุ ให้มีมาตรฐาน โปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ โดยมีหน้าที่ในการกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ มาตรฐาน ตีความกฎ ระเบียบ และสั่งการให้หน่วยพัสดุต่างๆ ดำเนินการตามกฎระเบียบดังกล่าว ประกอบด้วน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (เดิม) สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2) หน่วยงานพัสดุ มีหน้าที่ในการดำเนินงานพัสดุของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างกันไปตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจะต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับส่วนราชการต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นภารกิจของสำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
ตัวอย่างไฟล์
ดาวน์โหลดไฟล์
เครดิต : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ