
ดาวน์โหลด คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน ปรับปรุงใหม่ สำหรับครูผู้วิจัย โดย สพม.สกลนคร
ดาวน์โหลด คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน ปรับปรุงใหม่ สำหรับครูผู้วิจัย โดย สพม.สกลนคร
ดาวน์โหลด คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน ปรับปรุงใหม่ สำหรับครูผู้วิจัย โดย สพม.สกลนคร

การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นหนึ่งในข้อกำหนดสำคัญที่ระบุไว้ไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยในมาตรา 30 ระบุว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา” และ มาตราตรา 24 (5) ระบุว่า “ส่งเสริมสนับสนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม ส่งเสริมการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ” ดังนั้นจึงถือได้ว่าแนวทางพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยกระบวนการวิจัยของครูเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานไปพร้อมกัน
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน


สุวิมล ว่องวาณิช (2559) ได้เสนอขั้นตอนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนหลังจากที่วิเคราะห์และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข (Plan) 2)การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด (Act) 3) การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (Obsenve) 4) การสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงานโดยให้ผู้ที่มีส่วนร่วมได้วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานต่อไป (Reflect)
คู่มือนี้ขอสรุปขั้นตอนหรือกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การผสมสาน จากแนวคิด
ดังกล่าวข้างต้น ขอเสนอเป็นลำดับขั้นตอน A-P-P-O-R ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน (Aกalysing)
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดวิธีการแก้ปัญหา/แนวทวทางแก้ไข (Planning)
ขั้นตอนที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย/การแก้ปัญหา (Acting and Observing)
ขั้นตอนที่ 4 การสรุปผลการแก้ไขและการเขียนรายงานการวิจัย (Recting)

ขอบคุณที่มา : ดร.ไพบูรณ์ เกตวงษา ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร