บทความ

การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง

การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง

การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง

การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง

1. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่สังกัดจังหวัด ให้ใช้ผ้าผูกคอจังหวัด ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่า ผู้บังคับบัญชาคนนั้น สังกัดอยู่จังหวัดใด ในกรณีที่ท่านได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ตั้งแต่ 2 ท่อนขึ้นไปจะใช้ผ้าผูกคอกิลเวลล์ก็ต่อเมื่อท่านลงฝึกกิจกรรมลูกเสือ หรือเป็นวิทยากรการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือทุกระดับ

*ครูที่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กำกับลูกเสือในโรงเรียนและ ลงฝึกปฏิบัติการฝึกอบรมลูกเสือ ท่านผูกผ้าผูกคอกิลเวลล์นั้นถูกต้องแล้ว ส่วนตำแหน่งรองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนและผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนที่ ไม่มีหน้าที่ฝึกอบรมลูกเสือ เมื่อแต่งเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือ อาจใช้ผ้าผูกคอกิลเวลล์ก็ได้โดยอนุโลม

2. ผ้าผูกคอกิลเวลล์ ตามหมวด 4 ข้อ 25 (หน้า 30) นั้น ถือเป็นผ้าผูกคอพิเศษ ไม่ใช้เป็นผ้าผูกคอที่ระบุในการแต่งเครื่องแบบลูกเสือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ที่สังกัดจังหวัด ดังนั้น ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาแต่งเครื่องแบบลูกเสือแล้วไม่อยู่ในฐานะผู้ฝึกอบรมลูกเสือหรือเป็นวิทยากร ให้แต่งเครื่องแบบลูกเสือจึงต้องใช้ผ้าผูกคอสังกัดจังหวัด เช่น กรณีเข้ารับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ในกรณีมาร่วมงานวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ วันที่ 1 กรกฎาคม และหรือ วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า 25 พฤศจิกายน เป็นต้น

การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง

3. ถ้าผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ก็ให้ใช้ผ้าผูกคอของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ในตำแหน่งต่างๆตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ.ข้อ 11 (หน้า 15 ) แต่ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นวิทยากรการฝึกอบรม ต้องเปลี่ยนผ้าผูกคอ เป็นผ้าผูกคอกิลเวลล์

4.ในกรณีที่ประกอบพิธีการทางลูกเสือ เช่นพิธีส่งลูกเสือให้ไปสู่ประเภทที่สูงขึ้น ประกอบพิธีเข้าประจำกองลูกเสือ พิธีมอบเครื่องหมายวูดแบดจ์แก่ผู้บังคับบัญญชาที่มีคุณวุฒิสูงขึ้น หรือการเปิดประชุมกอง การอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ ต้องใช้ผ้าผูกคอกิลเวลล์ สำหรับผู้ที่ได้รับเครื่องหมายวูดแบบดจ์ 2 ท่อนแล้วเท่านั้น

5. มักจะมีคำถามว่า เมื่อใช้ผ้าผูกคอจังหวัด ผ้าผูกคอต้นสังกัดหรือผ้าผูกคอสำนักงานฯ แล้วจะสวมบีด 2 ท่อน, สามท่อน หรือ สี่ท่อนได้หรือไม่ คำตอบคือ สวมได้เพราะเครื่องหมายวูดแบดจ์สองท่อน, สามท่อน และสี่ท่อน เป็นครื่องหมายแสดงคุณวุฒิทางลูกเสือ ไม่ใช่เครื่องหมายบอกสังกัด

การสวมผ้าผูกคอตามสังกัด(ผ้าผูกคอจังหวัด/สำนักงาน) ตามแบบ ลส.13

  • วันที่1กรกฏาคม พิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนาม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน พิธีถวายพวงมาลาและถวายราชสดุดีเนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
  • ควบคุมลูกเสือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
  • เป็นกรรมการหรือส่งประกวดและแข่งขันกิจกรรมทางลูกเสือ
  • งานประชุมสัมนาวิชาการ งานกิจกรรมทางลูกเสือที่ไม่ใช่การฝึกอบรม
  • เข้าร่วมงานพระราชพิธี รัฐพิธี งานทั่วไป

สวมผ้าผูกคอกิลเวลล์ในโอกาส

  • การเปิดประชุมกองลูกเสือ
  • การอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ
  • รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมลูกเสือ
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินผลตรวจประเมินขั้น5

สีของผ้าผูกคอลูกเสือบอกอะไรเราได้???

สีของผ้าผูกคอลูกเสือถูกกำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ พ.ศ.2510 โดยแบ่งสีของผ้าผูกคอตามภาคการศึกษาในอดีตซึ่งมี 12 เขต (น่าจะคล้ายคลึงกับเขตพื้นที่การศึกษาในปัจจุบัน) สำหรับจังหวัดที่เกิดขึ้นใหม่หลังกฎกระทรวงฉบับนี้ประกาศออกมา มีผู้หลักผู้ใหญ่ได้อธิบายว่าให้ใช้สีของผ้าผูกคอตามจังหวัดที่แยกออกมา

** กรณีเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมลูกเสือในระดับต่างๆ ก็ให้ใช้ผ้าผูกคอลูกเสือเฉพาะในงานชุมนุมเท่านั้น เมื่อเสร็จสิ้นแล้วไม่นิยมนำมาใช้ผูกคอในงานทั่วไป (เก็บเป็นที่ระลึก)

ข้อมูล : กิจกรรมลูกเสือ Scout share

“ผ้าผูกคอลูกเสือ” รู้หรือไม่ มีการแบ่งสีตามเขตการศึกษา การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง

“ผ้าผูกคอลูกเสือ” ได้ถูกกำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ พ.ศ. 2510 โดยแบ่งสีของผ้าผูกคอตามภาคการศึกษาในอดีตซึ่งมี 12 เขต ได้แก่

เขตการศึกษา 1 สีเหลือง

การใช้ผ้าผูกคอลูกเสือตามกฎกระทรวง
  • กรุงเทพมหานคร
  • นครปฐม
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
    เขตการศึกษา 2 สีเขียว
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สตูล
    เขตการศึกษา 3 สีตองอ่อน
  • ชุมพร
  • นครศรีธรรมราช
  • พัทลุง
  • สงขลา
  • สุราษฎร์ธานี
    เขตการศึกษา 4 สีฟ้า
  • กระบี่
  • ตรัง
  • พังงา
  • ภูเก็ต
  • ระนอง
    เขตการศึกษา 5 สีน้ำเงิน
  • กาญจนบุรี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • เพชรบุรี
  • ราชบุรี
  • สมุทรสงคราม
  • สุพรรณบุรี
    เขตการศึกษา 6 สีแดงเลือดนก
  • ชัยนาท
  • พระนครศรีอยุธยา
  • ลพบุรี
  • สระบุรี
  • สิงห์บุรี
  • อ่างทอง
  • อุทัยธานี
    เขตการศึกษา 7 สีม่วง
  • กำแพงเพชร
  • ตาก
  • นครสวรรค์
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • เพชรบูรณ์
  • สุโขทัย
  • อุตรดิตถ์
    เขตการศึกษา 8 สีบานเย็น
  • เชียงใหม่
  • น่าน
  • พะเยา
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ลำปาง
  • ลำพูน
    เขตการศึกษา 9 สีเลือดหมู
  • ขอนแก่น
  • บึงกาฬ
  • เลย
  • สกลนคร
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อุดรธานี
    เขตการศึกษา 10 สีชมพู
  • กาฬสินธุ์
  • นครพนม
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • อำนาจเจริญ
  • อุบลราชธานี
    เขตการศึกษา 11 สีแสด
  • ชัยภูมิ
  • นครราชสีมา
  • บุรีรัมย์
  • ศรีสะเกษ
  • สุรินทร์
    เขตการศึกษา 12 สีไพล
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ตราด
  • นครนายก
  • ปราจีนบุรี
  • ระยอง
  • สระแก้ว

ขอบคุณที่มา : Facebook ส้มเปรี้ยว ชีวิตคิดบวก

Related Articles

Back to top button
error: Content is protected !!