การหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
การหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ เงินที่เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินของสถานศึกษาหักจากผู้ขาย หรือผู้รับจ้าง
เพื่อนำส่ง กรมสรรพากร กรณีซื้อ หรือจ้าง มีหลักเกณฑ์การจ่าย และหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
1. ซื้อหรือจ้างบุคคลธรรมดา หากวงเงินที่จ่ายตามสัญญา (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีวงเงิน
ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายเงินนั้นเป็นกี่
ครั้งก็ตาม
2. ซื้อหรือจ้างนิติบุคคล หากได้จ่ายเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายใน
อัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าสินค้า/บริการ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายเงินนั้นเป็นกี่ครั้งก็
ตาม
การหัก ภาษี ณ ที่จ่ายต้องยึดเกณฑ์เงินสด หมายความว่า จ่ายเงินวันใดต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในวันนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น การจ่ายเงินสด หากจ่ายเงินสดวันใดต้องหักภาษี ณ วันที่จ่ายไว้ด้วย การจ่าย
เป็นเช็ค จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวันที่ ที่ปรากฎสั่งจ่ายบนเช็ค โดยไม่สนใจว่าผู้รับเงินจะมารับเช็ค
หรือไม่ก็ตาม
การออกหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน หน้าที่
ของผู้จ่ายเงิน ต้องออกหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหลักฐานให้กับผู้รับเงิน โดยออกทันที
ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับ สำเนาให้นำมาบันทึกรายการรับในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ
ประเภทเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ที่มา :: flowaccount.com
วิธีนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
วิธีนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้เจ้าหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งสรรพากรท้องที่
หรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ แบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีบุคคล
ธรรมดา หรือ แบบ ภ.ง.ด. 53 กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัท หากไม่นำส่งภายในกำหนดเวลา
ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดชอบชำระเงินค่าปรับอาญาภายใน 7 วัน นับจากสุดท้ายของการยื่นแบบ (วันที่ 7)
100 บาท หากเกินจากนั้น 200 บาทและเงินเพิ่มอีก 1.5% ของภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือน หรือเศษ
ของเดือนของภาษีที่นำส่ง และอาจได้รับโทษทางอาญา ปรับไม่เกิน 2,000 บาท บันทึกรายการนำส่ง
ในทะเบียน คุมเงินนอกงบประมาณ ประเภท เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจาก
สรรพากรท้องที่ (บจ.) เป็นหลักฐานในการบันทึกรายการ
หมายเหตุ เกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ดูวงเงินตามสัญญาจ้าง หากวงเงินตามสัญญาจ้างนั้น
เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ในทุกครั้ง
ที่มีการจ่ายเงินตามสัญญา ตัวอย่างเช่น สัญญาจ้างที่ 1/66 มีวงเงินในสัญญา 15,000 บาท กำหนด
จ่ายเงินเป็น 3 งวดๆ ละ 5,000 บาท ดังนั้น การจ่ายเงินทุกงวด ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%6 ของเงิน
5,000 บาท เป็นเงิน 50 บาท ในทุกงวดที่จ่ายเงิน