ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การยืมเงินราชการ โดย สพป.บุรีรัมย์ เขต 2
ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การยืมเงินราชการ โดย สพป.บุรีรัมย์ เขต 2
ระเบียบการยืมเงินราชการ ล่าสุด ตัวอย่างการยืมเงินไปราชการ ปัจจุบันระบบราชการได้ปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการบริหารภาครัฐแนวใหม่ที่มุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์แทนการควบคุมปัจจัยนำเข้า และกระจายความรับผิดชอบในการบริหารงานการเงิน ให้หน่วยงานมีอิสระและคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากร เพื่อผลิตผลงานตามพันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ซึ่งมีภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงในการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังภาครัฐ เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการมีคู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การยืม เงินราชการ ใช้ในหน่วยงานเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยเบิกจ่ายให้เป็นแนวทางการในการปฏิบัติงาน และสามารถปฏิบัติงานได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจกระบวนงานต่าง ๆ ของการดำเนินงานด้านการยืม เงินราชการได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบการเงินการคลังเป็นอย่างดียิ่งขึ้น
กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการปฏิบัติงานเรื่องการยืม เงินราชการเล่มนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บุคลากรในสังกัด พัฒนาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ระเบียบการยืมเงินราชการ 2565
เงินยืม หมายความว่า เงินที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางไปราชการอื่น และค่ใช้จ่ายในการฝึกอบรม การประชุม การสัมมนา ทั้งนี้ไม่ว่าจะจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่าย หรือเงินนอกงบประมาณ
ประเภทการยืม เงินราชการ
๑. กรณียืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่าง ๆ
๒. กรณียืมเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การประชุม การสัมมนา ศึกษาดูงาน การจัดงาน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยืมเงิน
๑. ผู้มีสิทธิยืมจะต้องไม่มีหนี้ดิดด้างเงินยืมรายเก่า
๒. ขอยืมได้เพียงประเภทเดียว ไม่ว่าจะเป็นเงินงบประมาณ หรือเงินนอกงบประมาณ
๓. จำนวนเงินในสัญญายืมเงิน ให้ยืมเงินได้ไม่เกิน ๑ ล้านบาท
๔. ผู้ยืมจะต้องได้รับอนุมัติให้ไปราชการ และต้องเป็นผู้ร่วมเดินทางไปราชการคราวนั้นด้วย
๕. ผู้ยืมเมื่อได้รับเงินยืมแล้ว ไม่ได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในการขอยืม ให้ผู้ยืมส่งคืนเงินยืมทันที พร้อมชี้แจงเหตุผลการคืนเงินด้วย
๖. การยืมเงินสำหรับการปฏิบัติราชการที่ติดต่อดาบเกี่ยวจากปีงบประมาณปัจจุบันไปถึงปิงบประมาณถัดไป ให้เบิกเงินยืมงบประมาณปีปัจจุบัน โดยให้ถือว่าเป็นรายจ่ายของงบประมาณ
ปีปัจจุบัน ดังนี้
๖.๑ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ไม่เกิน ๙๐ วัน
๖.๒ ปฏิบัติราชการอื่นๆ ไม่เกิน ๓๐ วัน
๗. การยืมเงินสำหรับเดินทางไปราชการ ให้ส่งใช้เงินยืมภายใน ๑๕ วันนับแต่วันกลับมาถึง
๘. การยืมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การประชุม การสัมมนา ให้ส่งใช้เงินยืมภายใน๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับเงิน
๙. การจ่ายเงินยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรให้จ่ายได้ไม่เกิน
๙๐ วัน หากมีความจำเป็นเกินกว่าที่กำหนดต้องขอทำความตกลงกระทรวงการคลังก่อน
๑๐ . เงินที่ยืม ผู้ยืมจะต้องส่งหลักฐานการจ่ายพร้อมเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) และหากมีเงินเหลือจ่ายเกินร้อยละ ๑๐ ให้ผู้ยืมชี้แจงเหตุผลอย่างชัดเจนพร้อมกับการส่งใบสำคัญทุกครั้ง
๑๑. สัญญายืมเงินใด หากมีการเลื่อนการเดินทางไปราชการ ให้แจ้งกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรทันที
๑๒. สัญญายืมเงินใด หากมีการยกเลิกการเดินทางไปราชการ ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติยกเลิกสัญญายืมเงิน และส่งเรื่องให้กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ ทราบทันที
๑๓. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ค่าวัสดุ ค่าเช่ารถ และค่จ้างเหมาด่าง ๆ ห้ามยืมเงินราชการโดยเด็ดขาด ให้ทำเรื่องขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างส่งไปที่งานพัสดุ กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
ดาวน์โหลดไฟล์
ขอบคุณที่มา :: สพป.บุรีรัมย์ เขต 2