แนวปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ID Plan) ของครูสายการสอน (ภาครัฐ) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
แนวปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ID Plan) ของครูสายการสอน (ภาครัฐ) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาได้จัดทำแนวปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : ID PLAN) ของครูสายงานการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินตนเองและจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลเป็นรายปีให้แก่ครูสายงานการสอนและสถานศึกษา (ภาครัฐ) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สำหรับแนวปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ID PLAN) ของครูสายงานการสอน(ภาครัฐ) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จะมีการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนดำเนินการในการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครูสายงานการสอน และผู้ดูแลระดับสถานศึกษา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้
สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่ งว่าผู้บริหารสถานศึกษา ครูสายงานการสอน ในสถานศึกษาภาครัฐ และบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถใช้แนวปฏิบัติฯ เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครูสายงานการสอนตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ID Plan) ของครูสายการสอน (ภาครัฐ)
แผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) หมายถึง วิธีการพัฒนาบุคลากรโดยการกำหนดกรอบหรือแนวทางที่จะช่วยให้บุคลากรบรรลุเป้าหมายในสายอาชีพของตนที่เชื่อมโยงกับความต้องการหรือเป้าหมายขององค์กรและหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาจุดอ่อน (Weakness) และสร้างจุดแข็ง (Strength) ของบุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงานสำหรับในแนวปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครูสายงานการสอน (ภาครัฐ)สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานี้ ใช้คำย่อว่า ID PLAN ซึ่งเป็นแผนสำหรับการพัฒนาครูสายงานการสอน (ภาครัฐ) ในสังกัด เพื่อเตรียมความพร้อมให้มีสมรรถนะ หรือคุณสมบัติ ความสามารถและศักยภาพในการทำงานที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต หรือตามเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ที่องค์กรกำหนดขึ้น ตามระดับการปฏิบัติงานที่คาดหวังอ้างอิงตามวิทยฐานะ ดังนี้- ครูผู้ช่วย พนักงานราชการ(ครู) ครูอัตราจ้าง : ปฏิบัติและเรียนรู้ (Execute and Learn) สามารถปฏิบัติงานและเรียนรู้จากการปฏิบัติได้
– ครู : ปรับประยุกต์ (Apply and Adapt) สามารถปรับประยุกต์การเรียนรู้และการปฏิบัติงานจนปรากฏผลลัพธ์กับผู้เรียนได้
– ครูชำนาญการ : แก้ไขปัญหา (Solve the problem) สามารถแก้ไขคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
– ครูชำนาญการพิเศษ : ริเริ่ม พัฒนา (Originate and Improve) สามารถริเริ่มพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
– ครูเชี่ยวชาญ : คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent and Transform) สามารถคิดคัน พัฒนานวัตกรรมและปรับเปลี่ยนให้คุณภาพการเรียนรู้สูงขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำปรึกษาผู้อื่น
– ครูเชี่ยวชาญพิเศษ : สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create an Impact)สามารถคิดค้น พัฒนานวัตกรรม เผยแพร่ และขยายผลจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาผู้อื่น และเป็นผู้นำ
ภายในประกอบด้วย 4 บท ได้แก่
1. บทนำ
1.1 ความเป็นมา
1.2 วัตถุประสงค์
1.3 ขอบเขตเนื้อหา
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5 ขั้นตอนดำเนินการ
2. การจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล
2.1 ความหมาย
2.2 กระบวนการพัฒนารายบุคคล
2.3 บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.4 ระยะเวลาดำเนินการ
2.5 การจัดทำ ID PLAN
3. ระบบ ID-PLAN เพื่อจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ครูสายงานการสอน)
4. ระบบ ID-PLAN เพื่อจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (สถานศึกษา)
Download ได้ที่ http://bit.ly/ID-PLAN
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ R-idplan