บทความ

กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co-5STEPS)

กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co-5STEPS)

กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรียกสั้นๆคือ Collaborative 5 STEPs    เป็นแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning ) เน้นให้รู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเองรวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลัง โดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกันเด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อยเพื่อให้มีความสุขในการเรียน บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner)ส่วนบทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) โดยมีลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะดังนี้ คือ 1) เป็นแนวการสอนอยู่บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง 2) หลังการสร้างความรู้แล้ว ครูต้องมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำความรู้แล้วครูต้องมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำความรู้ไป หรือประยุกต์ความรู้ได้ผลงาน/ภาระงานไปตอนแทนสังคม3) เป็นการจัดการเรียนรู้เน้นการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เด็กร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันความเสมอภาคกัน   4) วิธีสอนสำคัญที่ใช้ใน Collaborative 5 STEPs คือ (1) วิธีสอนแบบสืบสอบ (2) วิธีสอนแบบโครงงาน (3) วิธีสอนต่างๆที่ในการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมเป็นฐาน เช่น เกม กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ใช้ประเด็นทางสังคม เป็น 5)เทคนิคสำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แนวนี้        คือ (1) เทคนิคพัฒนาการคิด เช่น การใช้คำถามการใช้ผังกราฟิก การใช้ใบกิจกรรมการใช้พหุปัญญา เป็นต้น (2) การใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Co-operative Learning ) โดยเฉพาะ Think-pair-share, Team-pair-solo, Pair-Discussion,Peer to Peer,Peertutoring,Peer assessment, round robin, Rally table เป็นต้น

          แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังกลุ่มที่มาร่วมตัวกันอาจ 2 คน หรือ 4 คนต่อ 1กลุ่ม ที่มีการคละเพศ คละความสามารถ ความสนใจและคละความสามารถ (เก่ง กลาง อ่อน) ทำงานร่วมมือกันแบบคนเก่งช่วยสอนคนที่อ่อน หรือเรียนรู้ช้า คนที่มีความสามารถปานกลางก็ร่วมด้วยช่วยกันจนงานสำเร็จและทุกคนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ถ้าเป็นการเรียนรู้ก็พบว่าเด็กอ่อนมีผลการเรียนรู้สูงขึ้น เด็กปานกลางก็มีการพัฒนาสูงขึ้นเช่นกัน อันเป็นการแสดงความร่วมใจร่วมพลังในการเรียนรู้ร่วมดันเพื่อให้เด็กๆมีความเท่าเทียมกัน บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดจงใช้หลักให้เด็กช่วยเหลือกันและกัน “คนเก่งอาสาเรียนช้าขอร้อง”

ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

          1. ขั้นเสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามอย่างร่วม เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนสงสัย (ask) จากสิ่งเร้า สมองเกิดภาวะสมดุล (disequilibrium) มีการทบทวนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ( elicitprior knowledge) คือ การคาดคะเนคำตอบ หรือตั้งสมมติฐาน หรือจินตนาการคำตอบ คำตอบอาจไม่ถูกต้องหรือผิดหรือเป็นมโนทัศน์คลาดเคลื่อนก็เป็นได้ซึ่งครูไม่มีการเฉลยคำตอบ โดยมีเทคนิคการคาดคะเนคำตอบ คือ 1) ให้ตอบคำถามเป็นรายบุคคล 2)ให้ตอบเป็นทีม

          2. ขั้นแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์อย่างรวมพลัง เป็นขั้นสำคัญเพื่อพิสูจน์สมมติฐานเพื่อหาคำตอบของคำถามสำคัญโดยครูอาจออกแบบให้ หรือครูกับผู้เรียนร่วมกันวางแผน หรือผู้เรียนวางแผนเอง ครูออกแบบการเก็บข้อมูลสารสนเทศให้เอง ด้วยการสร้างสื่อการเรียนรู้ เช่น ใบกิจกรรมใบงาน ใบทดลอง รวมทั้งใบความรู้ และอาจใช้ใบสรุปความรู้แจกให้ผู้เรียน

          3. ขั้นอภิปรายและสร้างความรู้ เป็นขั้นสื่อความหมายข้อมูลหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยผู้เรียนมีโอกาสเสนอหน้าชั้นเรียน ผู้เรียนมีแปลความหมายข้อมูล เพื่อการสรุปผล/สร้างความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง มีการสะท้อนความคิดกัน และแต่ละกลุ่มปรับแก้ไขความรู้ที่สร้างขึ้นเอง ครูเชื่อมโยงความรู้ที่ผู้เรียนสร้างไปยังความรู้ที่ถูกต้อง และเป็นขั้นที่ครูอาจให้ทำแบบฝึกหัดเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะต่างๆ

          4. ขั้นสื่อสารและสะท้อนคิดอย่างรวมพลัง เป็นชั้นผู้เรียนนำเสนอความรู้และการเรียนรู้ที่ได้จากการสร้างความรู้ด้วยความเข้าใจหน้าชั้น รวมทั้งผลงาน ตลอดจนกระบวนการสร้างความรู้ติดที่ผนัง หรือกระดานหน้าชั้นเรียนด้วยหลัก 3p วางแผนการพูด( Planning) ซ้อม/เตรียม (Preparation) นำเสนอหน้าชั้นเรียน ( Presentation) พร้อมฝึกการสร้างบุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพนอกขณะนำเสนออย่างมั่นใจและมีคุณภาพจากนั้นให้มีการสะท้อนคิด ข้อดี ข้อเด่น และสิ่งอยากรู้

          5. ขั้นประยุกต์และตอบแทนสังคม เป็นขั้นที่ผู้เรียนร่วมด้วยช่วยกันแบบรวม พลังประยุกต์ความรู้ หรือนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ เช่น ในชีวิตการเรียนในสาระอื่นๆ ในครอบครัวในชุมชนทำให้ได้ชิ้นงานใหม่/ภาระงานใหม่ การสร้างชิ้นงานเรียงตามลำดับง่ายไปหายาก ดังนี้          1) รายงาน การบอกเล่า การถ่ายทอดความรู้ (Extension) 2) ผลงานระดับคิดริเริ่ม หรือผลงานนำความรู้ประยุกต์ในสถานการณ์ใหม่ (Invention) และ 3) รายงานโครงงานประเภทต่างๆ (Innovation)

          โดยสรุปการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เป็นแนวการสอนที่ครูสามารถนำวิธีสอนต่างๆ เทคนิคการสอนที่เสริมสร้างการคิด เทคนิคการสอนที่เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือกันอย่างมีน้ำใจต่อกัน อีกทั้งเทคนิคการคิดเพื่อให้เกิดความเสมอภาค ได้ผลการเรียนรู้เป็นภาพมาตรฐานการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งเด็กคนใดไว้

สรุป ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ได้ดังนี้

กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co-5STEPS)
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co-5STEPS)
ที่มา :: http://www.maceduca.com/

ขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ตั้งคำถาม หรือขั้นตั้งคำถาม

เป็นที่ให้นักเรียนฝึกสังเกตสถานการณ์ ปรากฏการณ์ต่างๆ จนเกิดความสงสัย จากนั้นฝึกให้เด็กตั้งคำถามสำคัญ รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบ ด้วยการสืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ และสรุปคำตอบชั่วคราว

ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ

เป็นขั้นตอนการออกแบบ/วางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการทดลองเป็นขั้นที่เด็กใช้หลักการนิรภัย (Deduction reasoning) เพื่อการออกแบบข้อมูล

ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้

เป็นขั้นตอนที่เด็กมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ หรือด้วยผังกราฟิก การแปรผล จนถึงการสรุปผล หรือการสร้างคำอธิบาย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งเป็นแก่นความรู้ประเภท
1. ข้อเท็จจริง
2. คำนยาม
3. มโนทัศน์
4. หลักการ
5. กฏ
6. ทฤษฏี

ขั้นตอนที่ 4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร

คือ ขั้นนำเสนอความรู้ด้วยการมใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจ อาจเป็นการนำเสนอภาษา และนำเสนอด้วยวาจา

ขั้นตอนที่ 5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม
เป็นขั้นตอนการฝึกเด็กให้นำความรู้ที่เข้าใจ นำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม หรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นความรู้ แนวทางสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรม ด้วยตวามรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการแสดงออกของการเกื้อกูล และแบ่งปันให้สังคมมีสันติอย่างยั่งยืน

เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถพื้นฐานเบื้องต้นสำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ

  • ความสามารถด้านภาษา (Literacy)
  • ความสามารถด้านคำนวณ (Numeracy)
  • ความสามารถด้านเหตุผล (Reasoning ability)


3 ขั้นตอนชื่อขั้นตอนพฤติกรรมการเรียน
การสอนสืบสอบ
พฤติกรรมการเรียน
การสอนโครงงาน
1.ขั้นนำ1.เสนอสิ่งเร้าและรวม
พลังระบุคำถามสำคัญ
(สคส)
1.1 เสนอสิ่งเร้า
1.2 ระบุคำถามสำคัญ
1.3 คาดคะเนคำตอบ
1.1 ตั้งคำถามโครงงาน
2.ขั้นสอน2.รวมพลังแสวงหา
สารสนเทศและวิเคราะห์
(สว)
2.1 รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
2.2 วิเคราะห์ข้อมูล
2.1 ดำเนินการทำโครงงาน
2.2 วิเคราะห์ข้อมูล
3.รวมพลังอภิปรายและ
สร้างความรู้ (อส)
3.1 นำเสนอและอภิปราย
3.2 สร้างความรู้
3.3 ทำแบบฝึก
3.1 แปลความหมาย
3.2 สรุปการทำโครงงาน
ได้สร้างนวัตกรรม
4.รวมพลังสื่อสารและ
คิดสะท้อน (สสค)
4.1 เล่าเรื่องรู้สู่กันฟัง
4.2 สะท้อนคิดข้อดี
ข้อบกพร่อง และบทเรียนที่ได้
4.1 เขียนรายงานโครงงาน
5.รวมพลังประยุกต์และ
ตอบแทนสังคม (ปตท)
5.1 ประยุกต์ใน
สถานการณ์ใหม่ได้ผลผลิต
5.2 เผนแพร่ผลงาน
5.1 นำเสนอเผยแพร่
ผลงาน ผลผลิต หรือ
นวัตกรรมจากการทำ
โครงงาน
3. ขั้นสรุป+
สรุป
+
สรุป
+
สรุป
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co-5STEPS)

ขอบคุณที่มา :: ครูสายบัว

Related Articles

Back to top button
error: Content is protected !!